Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50231
Title: การพิสูจน์การเป็นยีนต้านมะเร็งของ CCNA1
Other Titles: SUBSTANTIATION OF CCNA1 AS THE TUMOR SUPPRESSOR GENE
Authors: กอบกาญจน์ อินทรนัฏ
Advisors: ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต
ธนาภัทร ปาลกะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: ยีนต้านมะเร็ง
ยีนต้านมะเร็ง -- การพิสูจน์เอกลักษณ์
ยีนมะเร็ง
มะเร็ง -- แง่พันธุศาสตร์
Antioncogenes
Antioncogenes -- Identification
Cancer genes
Cancer -- Genetic aspects
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ยีน CCNA1 เป็นยีนที่อยู่บนโครโมโซมแท่งที่ 13 ที่ตำแหน่ง q12.3 ถึง q13 ยีน CCNA1 แปลรหัสให้โปรตีน cyclin A1 อยู่ในกลุ่ม cyclin family มีหน้าที่ในการควบคุมการแบ่งเซลล์ผ่านวัฏจักรของเซลล์ในเซลล์มะเร็งกระดูกและเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ cyclin A1 ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมการฉีกขาดของดีเอ็นเอสายคู่ผ่านกระบวนการ non-homologous end-joining และยังพบการเกิดเมทิลเลชันที่บริเวณโปรโมเตอร์ของยีน CCNA1 ในเซลล์มะเร็งหลากหลายชนิด จากข้อมูลข้างต้นทำให้คาดว่ายีน CCNA1 อาจมีบทบาทเป็นยีนต้านมะเร็ง จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อต้องการพิสูจน์ว่า CCNA1 เป็นยีนต้านมะเร็ง โดยทำการยับยั้งการแสดงออกของยีน CCNA1 ด้วย siRNA ในเซลล์ HN12 ซึ่งเป็นเซลล์มะเร็งศีรษะและลำคอที่มีการแสดงออกของยีน CCNA1 โดยแปรผันความเข้มข้นของ siRNA และศึกษาระดับการแสดงออกของยีนด้วยการทำ real-time PCR จากการตรวจสอบความเสียหายของดีเอ็นเอสายคู่ภายหลังการฉายรังสี UV-C พบว่าในเซลล์ที่ถูกยับยั้งการแสดงออกของยีน CCNA1 มีความเสียหายของดีเอ็นเอสายคู่สูงกว่าเซลล์ในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลา 0, 2, 4 และ 48 ชั่วโมงภายหลังการฉายรังสี UV-C ผลที่ได้ยืนยันบทบาทของยีน CCNA1 ว่ามีความเกี่ยวข้องในการซ่อมแซมความเสียหายของดีเอ็นเอสายคู่ การตรวจสอบการมีชีวิตของเซลล์พบว่าในเซลล์ที่ถูกยับยั้งการแสดงออกของยีน CCNA1 มีการมีชีวิตของเซลล์ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ในส่วนของการตรวจสอบคุณสมบัติความเป็นมะเร็งของเซลล์พบว่าเซลล์ที่ถูกยับยั้งการแสดงออกของยีน CCNA1 มีการแบ่งเซลล์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลา 2 และ 4 ชั่วโมง และเพิ่มขึ้นที่เวลา 48 ชั่วโมง แต่การตายของเซลล์แบบแอพอพโทซิสไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการรุกรานของเซลล์พบว่าเซลล์ HN12 มีการรุกรานของซลล์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งจากผลการทดลองทำให้สรุปได้ว่ายีน CCNA1 มีบทบาทในการซ่อมแซมความเสียหายของดีเอ็นเอสายคู่ และมีบทบาทเป็นยีนต้านมะเร็งในเซลล์มะเร็งศีรษะและลำคอ HN12
Other Abstract: CCNA1 is a gene locating on chromosome 13 at region q12.3-q13. The protein encoded by this gene is cyclin A1. Cyclin A1 is a member of the cyclin family whose members are able to control the progression of cells through the cell cycle in osteosarcoma cell and leukemia cells. Furthermore, CCNA1 is involved in double strand break repair by non-homologous end-joining and it was CCNA1 that is methylated in several cancers. From data mentioned above suggests that it might be a tumor suppressor gene. The aim of this study is to substantiate that CCNA1 is a tumor suppressor gene. The expression of CCNA1 siRNA in HN12 head and neck cancer cell was suppressed by vary concentration of siRNA. We then evaluated the changes in CCNA1 expression by real-time PCR. From experiment after knockdown CCNA1 gene, cells had increased significant in DNA double-strand break at 0, 2, 4 and 48 hours after UV-C irradiation when compared with control group. This result confirmed function of CCNA1 in double strand break repair. Knockdown of CCNA1 gene in HN12 did not significant effect cell viability. In part of detected the hallmark of cancer, from experiment after knockdown CCNA1 gene, cells had significant decreas in proliferation at 2 and 4 hours after UV-C irradiation but significantly increase at 48 hours after UV-C irradiation. Knockdown of CCNA1 gene did not affect apoptosis. The invasion of cells significant increase after knockdown CCNA1 gene and induced DNA double strand break when compare with control group. In conclusion, the CCNA1 gene is involved in double strand break repair and plays a role as a tumor suppressor gene in HN12 head and neck cancer cells.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พันธุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50231
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.864
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.864
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5571914123.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.