Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50282
Title: การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน
Other Titles: Development of an informal learning promotion model to enhance characteristics of lifelong learner for youth
Authors: ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การศึกษาต่อเนื่อง
การเรียนรู้
Non-formal education
Continuing education
Learning
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนาที่อาศัยเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน จากการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ตัวอย่างบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และประเมินรับรองคุณลักษณะจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน จากการประเมินธรรมชาติในการเรียนรู้และระดับคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเยาวชน การวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น และการประเมินผลเพื่อรับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จและเงื่อนไขของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยฯ จากการสัมภาษณ์เยาวชนผู้เข้าร่วมทดลองรูปแบบและการประชุมสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาตลอดชีวิต 4) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยฯ ด้วยการนำผลที่จากการศึกษาในทุกขั้นตอนพัฒนาเป็น (ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายแล้วนำเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาตลอดชีวิตทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการจำนวน 13 คนพิจารณาและประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายนั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน จำแนกออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1.1 คุณลักษณะด้านนิสัยและพฤติกรรม ประกอบด้วย พฤติกรรมความใฝ่รู้ใฝ่เรียน พฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และพฤติกรรมการสะท้อนผลการเรียนรู้ 1.2คุณลักษณะด้านเจตคติ ประกอบด้วย การมองเห็นคุณค่าในตนเอง การมองเห็นคุณค่าของบุคคลรอบข้าง การมองเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ และการมองเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม 1.3 คุณลักษณะด้านทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการบูรณาการความรู้ ทักษะการจัดการ ทักษะทางสังคม ทักษะทางอาชีพ และทักษะสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 1.4 คุณลักษณะด้านความรู้ ประกอบด้วย ความรู้ด้านประสบการณ์ ความรู้ด้านสังคม ความรู้ด้านวิชาการ ความรู้ด้านอาชีพ และความรู้ด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน มีองค์ประกอบที่สำคัญในรูปแบบ ประกอบด้วย 2.1 หลักการการส่งสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 2.2 พื้นที่การเรียนรู้ตามอัธยาศัย 2.3 ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ 2.4 ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 2.5 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 2.6 ทรัพยากรส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย และ 2.7 วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 3) ปัจจัยความสำเร็จของรูปแบบฯ ได้แก่ ความใฝ่เรียนรู้ของเยาวชน การสนับสนุนของเครือข่ายการเรียนรู้ ความหลากหลายและความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวย และความเป็นอิสระทางด้านเวลา เงื่อนไขของรูปแบบฯ ได้แก่ นโยบายรัฐที่ขาดการสนับสนุน แหล่งเรียนรู้ขาดความหลากหลายและไม่ครอบคลุมกับกลุ่มเป้าหมาย เยาวชนไม่มีความพร้อมในการเรียนรู้ ความไม่ต่อเนื่องในการส่งเสริมการเรียนรู้ และการส่งเสริมการเรียนรู้ขัดต่อหลักคุณธรรมและจริยธรรม 4) ข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยฯ ประกอบด้วย 4.1 นโยบายภาครัฐ ควรให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และสนับสนุนกองทุนเพื่อจัดพื้นที่การส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่เป็นต้นแบบในแต่ละจังหวัด 4.2 นโยบายภาคเอกชน ควรให้การสนับสนุนทุนเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้หรือสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในชุมชนให้มีความทันสมัย มีการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเยาวชนให้มากขึ้น 4.3 นโยบายภาคประชาสังคม ควรสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในชุมชนและระหว่างชุมชน 4.4 นโยบายทางสถาบันทางสังคม ควรรณรงค์ให้คนในครอบครัวปรับบทบาทเป็นเพื่อนร่วมทางการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสนทนาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย และรณรงค์ให้สถานศึกษาสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อให้เยาวชนได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติ
Other Abstract: The research is a research and development study combines qualitative and quantitative approaches with the purposes to 1)analyze the characteristic of lifelong learner from studying documents, interviewing the examples of lifelong learners and receiving approval from the experts; 2)develop the informal learning promotion model to enhance characteristics of lifelong learner from the assessment of learning nature and characteristics of lifelong learner, document analysis and interview of significant data providers, model testing and performance evaluation for approval of the experts; 3) study the success factors and conditions of this informal learning promotion model from the interview the young participants and the focus group of the experts in lifelong learning; 4) present the policy recommendations of the informal learning promotion model by developing all the results into a draft of the policy recommendations submitted to the 13 lifelong learning experts, both from the policy level and operational level to consideration and assessment. The research found that 1) the characteristics of lifelong learners can be divided into 4 aspects: 1.1 characteristics of habits and behaviors consists of curiosity, self-directed learning and learning reflection; 1.2 characteristics of attitudes consisted of self-esteem, others esteem, learning esteem and see the value of the environment; 1.3 characteristics of skills consisted of thinking, communication, knowledge integration, management, society, career and information technology; 1.4 characteristics of knowledge consisted of experience, society, academics, career and information technology. 2) The informal learning promotion model to enhance characteristics of lifelong learner included of seven essential elements: 2.1 informal learning promotion principles, 2.2 informal learning space, 2.3 Informal learning facilitator, 2.4 informal learning interaction, 2.5 informal learning promotion activities, 2.6 informal learning promotion resources, and 2.7 informal learning promotion methods. 3) The success factors comprised of the curiosity of young people, the support of the learning network, the variety and convenience to access of learning resources, the supporting of environment and atmosphere, and time. The conditions included of unsupported policy, non-variety of learning resources and inability to reach the target group, unreadiness to learn of young people, learning discontinuity and the learning promotion against morality and ethics. 4) To promote the informal learning, the policy recommendations were 4.1 the state policy: the implementation and support the funding to arrange the informal learning models in every province; 4.2 the private sector policy: the support knowledge resource developments or improve learning spaces in communities and produce more creative media to advertise and promote the learning for young people; 4.3 the civil society policy: the encouragement of the multi-activities arrangement focusing on knowledge sharing within the community and among the communities; 4.4 the social institution policy: the campaign to all members in every family using conversation as the tool to promote the informal learning, and providing student-centered learning and field study to promote real situation experience.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50282
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1117
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1117
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584206727.pdf9.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.