Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50284
Title: กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: Academic management strategies to enhance critical thinking skills of secondary school students
Authors: อาจารี สุวัฒนพงษ์
Advisors: วลัยพร ศิริภิรมย์
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษา
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณในเด็ก
High school students
Critical thinking in children
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 275 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติทดสอบ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาประกอบด้วย 6 ทักษะ ได้แก่ (1) การตีความ (2) การวิเคราะห์ (3) การประเมินผล (4) การอนุมาน (5) การอธิบายแปลผล (6) การมีกฎข้อบังคับเฉพาะตน และวิธีการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ 3 วิธี ได้แก่ (1) วิธีการเสริมสร้างทั่วไป (2) วิธีการเสริมสร้างแบบผสมผสาน (3) วิธีการเสริมสร้างแบบซึมซับ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การนิเทศการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน และ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์พัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (2) กลยุทธ์ยกระดับการจัดการเรียนรู้ในการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (3) กลยุทธ์ปฏิรูปการบริหารบุคลากรเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (4) กลยุทธ์ขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (5) กลยุทธ์ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดชิงวิพากษ์ของนักเรียน (6) กลยุทธ์ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และ (7) กลยุทธ์พัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the framework of academic management to enhance critical thinking skills of secondary school students 2) to study the current and the desirable states of academic management to enhance critical thinking skills of secondary school students 3) to develop academic management strategies to enhance critical thinking skills of secondary school students. The samples of the study were 275 secondary schools under the jurisdiction of the office of Secondary Educational Service Area. Questionnaire and strategic evaluation form of feasibility and appropriateness were used as tools to collect data. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and PNIModified and F-test The research findings showed that 1) the framework of academic management to enhance critical thinking skills of secondary school students consist of 6 critical thinking skills were (1) interpretation (2) analysis (3) evaluation (4) inference (5) explanation (6) self-Regulation and 3 approaches to enhance critical thinking skills were (1) general approach (2) infusion approach (3) Immersion approach 2) The current states of academic management to enhance critical thinking skills of secondary school students as a whole, were rated moderate. The aspect with the highest average score was supervision while the aspect with the lowest average score was the instructional management in school. As for the desirable conditions, it turned out that the all aspects had higher average scores as compared to the current state. They all appeared at the high level. The aspect with the highest average score was the instructional management in school, while the aspect with the lowest average score was the curriculum development in school. 3) The seven main strategies of academic management to enhance critical thinking skills of secondary school students were (1) Strategies to develop curriculum development to enhance critical thinking skills (2) Strategies to improve instructional management to enhance critical thinking skills (3) Strategies to personnel administration reform to enhance critical thinking skills. (4) Strategies to driven instructional management to enhance critical thinking skills into practice with concrete. (5) Strategies to partnership with the community to develop a school curriculum to enhance critical thinking skills (6) Strategies to continuous promote critical thinking skills of secondary school students and (7) Strategies to develop instructional management in school with innovation and technology to enhance critical thinking skills.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50284
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1241
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1241
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584230727.pdf9.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.