Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50524
Title: การเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพปอดหลังจากทำงานในรอบวันในคนงานโรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหารแห่งหนึ่ง
Other Titles: Cross-shift changes in pulmonary function among employees in a military garment factory
Authors: ทศพร เอกปรีชากุล
Advisors: สุนทร ศุภพงษ์
สว่าง แสงหิรัญวัฒนา
คทาวุธ ดีปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
[email protected]
Subjects: ทางเดินหายใจ -- โรค
โรคปอดฝุ่นฝ้าย
อุตสาหกรรมสิ่งทอ
Respiratory organs -- Diseases
Byssinosis
Textile industry
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทำงานสัมผัสฝุ่นเครื่องแต่งกายทหาร อาจส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพปอด และก่อให้เกิดโรคปอดฝุ่นฝ้ายจากการทำงาน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพปอดในรอบวัน และอัตราความชุกของโรคปอดฝุ่นฝ้ายในคนงานของโรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหารแห่งหนึ่งของกองทัพ โดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคนงานฝ่ายผลิต โรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประวัติผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดฝุ่นฝ้าย และตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องสไปโรเมตรีย์ชนิดโฟลเซนส์ซิ่ง จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คนพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจร่วมกับ cross-shift FEV1 ลดลงมากกว่าร้อยละ 10 เข้าเกณฑ์โรคปอดฝุ่นฝ้ายจากการทำงานมีจำนวน 2 คน (ร้อยละ1.2) กลุ่มตัวอย่างที่มีการลดลงของ cross-shift FEV1 ตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปมีจำนวน 17 คน (ร้อยละ10.3) นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 46 คน (ร้อยละ 28) มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจระหว่างการทำงาน ค่าเฉลี่ยของ FEV1 FVC และ FEV1/FVC ก่อนเข้างาน/หลังจากทำงานเท่ากับ 2.22/2.25 ลิตร 2.59/2.63 ลิตร 0.86/0.86 ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพปอดในรอบวันการทำงาน FEV1 FVC และ FEV1/FVC เท่ากับ +22.42 มิลลิลิตร (ร้อยละ1.19), +45.88 มิลลิลิตร และ -0.01 ตามลำดับ ผลจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ฝุ่นจากเครื่องแต่งกายทหารอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ และการลดลงของสมรรถภาพปอดของคนงานบางคนได้ ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นประจำทุกปี และควรจัดให้มีการเฝ้าระวังสุขภาพของคนงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการตรวจสมรรถภาพปอดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
Other Abstract: Cotton dust in the workplace could harm lung function and may cause byssinosis among textile workers. This study aimed to study respiratory problems, cross-shift spirometry and the prevalence rate of byssinosis among workers in a military garment factory. The cross-sectional descriptive study was undergone at production department in a military garment factory in Nonthaburi province. The data was collected by applying Thai CDC Byssinosis questionnaires and cross-shift spirometry. Among 165 sampled workers, the prevalence rate of occupational byssinosis was 1.2% (2 cases). Cross-shift FEV1 decreased at least 5% in 17 workers (10.3%). Furthermore, 46 workers (28%) reported abnormal respiratory symptoms. The means of pre-shift/post-shift FEV1,FVC, and FEV1/FVC were 2.22/2.25 L, 2.59/2.63 L, and 0.86/0.86 respectively. The cross-shift change means of FEV1, FVC, and FEV1/FVC were +22.42 mL(+1.19%), +45.88 mL, and -0.01 respectively. This study demonstrated that the dust from military garment potentially caused abnormalities in respiratory system and might affect workers’ pulmonary function in some workers. Routine environmental monitoring should be executed. Health surveillance programs including annual spirometry were also needed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50524
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.690
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.690
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774027230.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.