Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50537
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ | en_US |
dc.contributor.author | วราลี ฉัตรชมชื่น | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:09:25Z | - |
dc.date.available | 2016-12-01T08:09:25Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50537 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | ที่มา : ภาวะไขมันเอชดีแอลสูงปฐมภูมิ สาเหตุหนึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างเอนไซม์เฮบพาติกไลเปสและคอเลสเทอริลเอสเทอร์ทรานสเฟอร์โปรตีน โปรตีนแองจิโอโปอิตินไลค์ทรีเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มระดับไขมันเอชดีแอลโดยผ่านทางการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์เฮบพาติกไลเปส การศึกษานี้เป็นการศึกษาระดับของโปรตีนแองจิโอโปอิตินไลค์ทรีในคนไทยที่มีระดับไขมันเอชดีแอลสูง วิธีการศึกษา : ผู้ที่มีระดับไขมันเอชดีแอลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 100 มก./ดล. อย่างน้อย 2 ครั้ง ที่มาตรวจในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวนทั้งสิ้น 90 คนและกลุ่มควบคุมซึ่งมีอายุและเพศใกล้เคียงกันแต่มีระดับไขมันเอชดีแอลในเลือดระหว่าง 40-60 มก./ดล. จำนวน 90 คน โดยตัดผู้ที่มีระดับไขมันเอชดีแอลในเลือดสูงที่เกิดจากทุติยภูมิออกจากการศึกษา ผู้ร่วมวิจัยทุกรายจะได้รับการซักประวัติตรวจร่างกายและตรวจวัดระดับโปรตีนแองจิโอโปอิตินไลค์ทรีโดยวิธี ELISA ผลการศึกษา : ในกลุ่มผู้มีระดับไขมันเอชดีแอลในเลือดสูงกว่าหรือเท่ากับ 100 มก./ดล. พบเป็นเพศหญิง 82 คน (คิดเป็นร้อยละ 91.1) อายุเฉลี่ย 59.7±11.2 ปี ตรวจพบว่ามีระดับไขมันแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยระดับไขมันคอเลสเทอรอลรวมเฉลี่ย 249.8±36.6 มก./ดล. เทียบกับ 219.9±40.6มก./ดล. (p<0.001) ระดับไขมันไทรกลีเซอไรด์เฉลี่ย 73.3±31.2 มก./ดล.เทียบกับ 122.9±50.0 มก./ดล. (p<0.001) และระดับไขมันแอลดีแอล เฉลี่ย 131.3±34.5 มก./ดล. เทียบกับ 143.5±34.2 มก./ดล. (p=0.018) สำหรับระดับของโปรตีนแองจิโอโปอิตินไลค์ทรีพบว่าในผู้มีระดับไขมันเอชดีแอลในเลือดสูงกว่าหรือเท่ากับ 100 มก./ดล. มีค่าเฉลี่ย 287.9±97.6 นก./มล. เทียบกับ 229.8±99.6 นก./มล. ซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) สรุปผลการศึกษา : ในคนที่มีระดับเอชดีแอลสูง ระดับของโปรตีนแองจิโอโปอิตินไลค์ทรีสูงกว่าคนที่มีระดับเอชดีแอลปรกติ ซึ่งบ่งว่าการเพิ่มขึ้นของระดับแองจิโอโปอิตินไลค์ทรีอาจสัมพันธ์กับการมีระดับไขมันเอชดีแอลสูงในประชากรไทย | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: Hyperalphalipoproteinemia (HALP) is primarily caused by mutations in the hepatic lipase and/or cholesteryl ester transfer protein genes. Angiopoietin-like protein 3 (ANGPTL3) is a metabolic factor that increases HDL cholesterol level by inhibiting hepatic lipase. We aimed to examine the level of ANGPTL3 in Thai subjects with HALP. Methods: Ninety ambulatory subjects with HDL level ≥ 100 mg/dl (HALP group) and ninety healthy match-case controls were recruited. Secondary causes of HALP were excluded. Clinical characteristics and lipid profiles were examined. Plasma ANGPTL3 levels were measured by ELISA technique. Results: In the HALP group, ninety-one percent were female with the mean age of 59.7±11.2 years. The mean total cholesterol levels were significantly higher in the HALP group compared with those in the control group (249.8±36.6 vs. 219.9±40.6 md/dl, p<0.001). The mean triglyceride levels and LDL levels were lower in the HALP group (73.3±31.2 vs. 122.9±50.0 mg/dl, p<0.001 and 131.3±34.5 vs. 143.5±34.2 mg/dl, p=0.018, respectively). The mean ANGPTL3 levels were significantly higher among the HALP patients (287.9±97.6 vs. 229.8±99.6, p<0.001). There was significant correlation between HDL levels and ANGPTL3 levels in both groups (r=0.3, p<0.001). Conclusion: ANGPTL3 levels were significantly higher in the HALP patients, suggesting that ANGPTL3 may be causally related to HALP in Thai subjects. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | ระดับโปรตีนแองจิโอโปอิตินไลค์ทรีในคนไทยที่มีระดับไขมันเอชดีแอลสูง | en_US |
dc.title.alternative | ANGIOPOIETIN-LIKE PROTEIN 3 LEVELS IN THAI HYPERALPHALIPOPROTEINEMIC PATIENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected],[email protected],[email protected] | en_US |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774083330.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.