Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50606
Title: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ |
Other Titles: | Legal problems relating to the legal status of real estate investment trusts |
Authors: | บวร ประภาสะวัต |
Advisors: | พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อสังหาริมทรัพย์ -- การลงทุน -- ไทย กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย Real property -- Investments -- Thailand Real estate investment trusts -- Thailand |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ “รีท” เป็นทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) ได้ออกประกาศต่างๆ เพื่อให้รีทซึ่งเป็นรูปแบบการระดมทุนที่มีความเป็นสากลถูกทำมาใช้เพื่อการลงทุนแทนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่เนื่องจากรีทเป็นทรัสต์ที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 รีทจึงมีสถานะเป็นเพียงกองทรัพย์สินซึ่งเกิดขึ้นจากนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ก่อตั้งทรัสต์กับทรัสตีและไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอันเป็นลักษณะที่แตกต่างจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยยะสำคัญ และความแตกต่างดังกล่าวนี้อาจนำมาสู่ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการที่กองรีทไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งแยกทรัพย์สินของกองรีทกับทรัพย์สินส่วนตัวของทรัสตี และปัญหาเกี่ยวกับการทำธุรกรรมโดยเฉพาะการก่อหนี้ของกองรีท เช่น กรณีที่กองรีทมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน รวมถึงปัญหาความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความรับผิดของทรัสตี ผู้ถือหน่วยรีท และเจ้าหนี้ของกองรีท เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรีทที่จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติ ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ของไทยรวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรีทของต่างประเทศ และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยอาจกำหนดมาตรการทางกฎหมายอื่นๆ มารองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการที่กองรีทไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล หรืออาจรับเอาแนวคิดของ Business Trusts ในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทยเพื่อรับรองให้ Business Trusts ภายใต้กฎหมายไทยมีสถานะเป็นนิติบุคคลและกำหนดให้รีทสามารถก่อตั้งขึ้นภายใต้กฎหมาย Business Trusts |
Other Abstract: | Real Estate Investment Trust (“REIT”) was introduced by the Law of Trust for Transactions in the Capital Market B.E. 2550 (2007). The Securities and Exchange Commission (“SEC”) enacted notifications to provide REIT for the capital market transactions instead of property fund which was established under the Securities and Exchange Act B.E. 2535 (1992), because in international practice REIT was used as the financial products and was designed to invest funds raised from investors in the real estate. However, as REIT is a trust established under the Law of Trust for Transactions in the Capital Market B.E. 2550 (2007), REIT is considered only as a pooled asset. Its status effects legal relationship between settlor and trustee. Moreover, REIT has no separate legal entity. Such the significant difference between REIT and property fund causes many problems related to non legal entity of REITs, such as the separation of REITs’s asset and trustee’s asset, the debt transaction, in case of REIT has more debt than compulsory assets, the indistinctness of obligation of trustee, unit holder and REITs’s creditor. Thence, the researcher studied laws in relation to REITs in Thailand and foreign countries, and provided recommendations to solve problems mentioned above through stipulating legal measures to support and solve these problems. Otherwise, the SEC should implement Business Trusts concept in foreign countries for Thailand Real Estate Investment Trust through recognizing a separate legal entity of Business Trusts and allowing REIT to be established under the Business Trusts Law. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50606 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.668 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.668 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5786042634.pdf | 5.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.