Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50615
Title: | กรรมวิธีการสร้างกลองปูจาของครูญาณ สองเมืองแก่น |
Other Titles: | PROCESS OF KLONG PUJA MAKING BY MASTER YAN SONGMUAENGKAEN |
Authors: | ศิริ อเนกสิทธิสิน |
Advisors: | ภัทระ คมขำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องกรรมวิธีการสร้างกลองปูจาของครูญาณ สองเมืองแก่น มุ่งศึกษาในบริบทที่เกี่ยวข้องกับกลองปูจา ประวัติชีวิตครูญาณ สองเมืองแก่น และกรรมวิธีการสร้างกลองปูจาของครูญาณ สองเมืองแก่น โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลฝากตัวเป็นศิษย์กับครูญาณ สองเมืองแก่น ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่ากลองปูจาเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นมงคล ชาวจังหวัดน่านเชื่อว่ากลองปูจาเป็นของสูง มีพิธีกรรมเกี่ยวกับกลองปูจา ได้แก่ พิธีสร้างกลอง พิธีไหว้ครู พิธีอัญเชิญกลอง เพื่อความศักดิ์สิทธิ์เป็นสิริมงคลและสร้างความสามัคคี ครูญาณ สองเมืองแก่น ได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์ด้านงานช่างสร้างกลองและศิลปะแขนงต่าง ๆ ของจังหวัดน่าน และได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นครูศิลป์แห่งแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2558 กรรมวิธีการสร้างกลองปูจาของครูญาณ สองเมืองแก่น ใช้วิธีแบบโบราณเริ่มจากกำหนดฤกษ์วันหุ้มกลอง ขนาดกลองและหน้ากลองตามโฉลกที่เป็นมงคล ขุดเจาะด้วยเหล็กเซาะและแต่งผิวกลองด้วยกบ นำหนังวัวมาหุ้มเป็นหน้ากลองแล้วขึงด้วยวิธีขันชะเนาะ เจาะรูบริเวณปากกลองแล้วใช้สลักไม้ไผ่ซางที่เหลาเตรียมไว้ตอกรอบตัวกลองแล้วจึงตกแต่งชายหนังด้วยหวายหรืออลูมิเนียม ภายในบรรจุหัวใจกลองที่ลงอักขระคาถาเมตตามหานิยม พระสงฆ์และชาวบ้านให้การยอมรับว่ากลองปูจาที่สร้างหรือหุ้มกลองโดยครูญาณ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ สลักกลองไม้ไผ่ซางที่เหลาด้วยมือไม่ใช้การกลึง การตัดชายหนังหุ้มปลอกกลองด้วยหวายหรืออลูมิเนียมอย่างสวยงาม การขึงหน้ากลองด้วยวิธีขันชะเนาะ มีการประกอบพิธีบรรจุหัวใจกลองลงอักขระคาถาไว้ ทำให้กลองมีคุณภาพทั้งเสียง รูปลักษณ์ ความคงทนของหน้ากลองและมีความศักดิ์สิทธิ์ |
Other Abstract: | The research “Process of Klong Puja Making By Master Yan Songmuaengkaen” aims to study the context of Puja Drum, the biography of Yan Songmuaengkaen and the process of Making Puja Drum. Fieldwork was conducted in Nan province between December 2015 - August 2016 as well as document research and interview with informants. The research findings show that the population of Nan has a belief that Puja Drum is sacred and worshipful. There are certain rituals related to Puja Drum including Worshiping Ceremony and Inviting Ceremony for holiness, blessings and harmony amongst villagers. Yan Songmuaengkaen is recognized amongst people in Nan as an artist and drum maker with local wisdom savant specializing in drum making, craftmanships, and rituals of Nan Province. He is also honored as the teacher of national arts in 2015. The making process of Yan Songmuaengkaen’s Puja Drum uses the ancient process. It starts by determining an auspicious day for drum wrapping and the propitious size of the drum. The drum will be gauged by end mill and finished with planer. Leather will be put to wrap the drumhead and stretched by wrenching. Drum rim will be drilled to make holes and hammered with bamboo bolts, then decorated with rattan or aluminum. The drum contains its heart which is spelled by incantations. Monks and villagers accept that Yan’s Puja drum is unique because of the bamboo bolts sharpened by hand, not lathe. The drum rim is covered with rattan or aluminum exquisitely. The drumhead is wrapped and stretched by wrenching and there is a ceremony to contain the heart of the drum. All of these processes make the good quality of the drum in its sound, appearance, durability and sacredness. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50615 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5786737135.pdf | 7.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.