Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50737
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตน์ศิริ ทาโตen_US
dc.contributor.authorภัทรนันต์ แซ่ชีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:03:04Z
dc.date.available2016-12-02T02:03:04Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50737
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ การรับรู้ความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ ทัศนคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย การสนับสนุนจากคู่นอนในการใช้ถุงยางอนามัย และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการใช้ถุงยางอนามัยกับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของแรงงานชายพม่าในโรงงานอุตสาหกรรม เขตภาคใต้ตอนบน และเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของแรงงานชายพม่าในโรงงานอุตสาหกรรม เขตภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่าง คือแรงงานชายพม่าในโรงงานอุตสาหกรรม เขตภาคใต้ตอนบน จำนวน 259 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเป็นระบบ รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ แบบสอบถามการรับรู้ความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ แบบสอบถามทัศนคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย แบบสอบถามการสนับสนุนจากคู่นอนในการใช้ถุงยางอนามัย แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการใช้ถุงยางอนามัย และแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา และนำไปหาดัชนีความตรงตามเนื้อหา ได้เท่ากับ .98, .84, .80, .84, .91 และ .80 ตามลำดับ และหาความสอดคล้องภายใน โดยใช้สูตร KR-20 และสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .86, .83, .76, .86, .93 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ การรับรู้ความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ ทัศนคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการใช้ถุงยางอนามัย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของแรงงานชายพม่าในโรงงานอุตสาหกรรม เขตภาคใต้ตอนบนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .945, r = .153, r = .185, r = .171, p < .05) และการสนับสนุนจากคู่นอนในการใช้ถุงยางอนามัยไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของแรงงานชายพม่าในโรงงานอุตสาหกรรม เขตภาคใต้ตอนบนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - .040, p > .05) ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ (Beta = .94) และการรับรู้ความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ (Beta = .07) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของแรงงานชายพม่าในโรงงานอุตสาหกรรม เขตภาคใต้ตอนบน ได้ร้อยละ 89 (AdjR2 =.89)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this correlational predictive research were to examine correlation between HIV knowledge, perceived susceptibility, attitude toward condom use, condom use partner support, condom use self-efficacy, and condom use behavior and to identify predictive factors of condom use behavioral among Myanmar male workers. Subject were 259 Myanmar male workers in industrial factories, the upper southern region of Thailand. The instruments used to collect data consisted of seven parts: demographic form, HIV knowledge questionnaire, perceived susceptibility questionnaire, attitude toward condom use questionnaire, condom use partner support questionnaire, condom use self-efficacy questionnaire, and the condom use behavior questionnaire. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of expert. Their Content Validity Index were .98, .84, .80, .84, .91, and .80, respectively. Their KR-20 and Cronbach’s alpha coefficients were .86, .83, .76, .86, .93, and .85, respectively. Data were analyzed using bivariate correlation and stepwise multiple regression. The result revealed that: HIV knowledge, perceived susceptibility, attitude toward condom use, and condom use self-efficacy were positively and significantly related to condom use behavior among Myanmar male workers in industrial factories, the upper southern region of Thailand (r = .945, r = .153, r = .185, r = .171, p < .05). Condom use partner support was not significantly related to condom use behavior among Myanmar male workers in industrial factories, the upper southern region of Thailand (r = -.040, p > .05). HIV knowledge (Beta = .94) and perceived susceptibility (Beta = .07) were significant predictors of condom use behavior among Myanmar male workers in industrial factories, the upper southern region of Thailand. Predictive variables accounted for 89% (AdjR2 = .89) of total variance in condom use behavior.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.751-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการใช้ถุงยางอนามัย
dc.subjectแรงงานต่างด้าวพม่า
dc.subjectโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ -- การป้องกัน
dc.subjectCondom use
dc.subjectForeign workers, Burmese
dc.subjectSexually transmitted diseases -- Prevention
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของแรงงานชายพม่าในโรงงานอุตสาหกรรม เขตภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeFactors predicting condom use behavior of Myanmar male workers in industrial factories, the upper southern region of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.751-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577223236.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.