Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/508
Title: | การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเน้นวิสัยทัศน์ร่วมระหว่างชุมชนคีรีวงกับโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 |
Other Titles: | A school-based curriculum development using co-visions between Kiriwong Community and Thairathwittaya 74 School for prathom suksa six students in schools under the jurisdiction of the Office of Nakhon Si Thammarat educational service area zone 1 |
Authors: | ปิยฉัตร ฆังฆะ, 2521- |
Advisors: | สำลี ทองธิว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การศึกษาขั้นพื้นฐาน การวางแผนหลักสูตร วิสัยทัศน์ ชุมชนกับโรงเรียน |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยบูรณาการสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยมีวิสัยทัศน์ร่วมระหว่างสมาชิกในชุมชนคีรีวงกับครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 (ชุมชนบ้านคีรีวง) เป็นแกนเป้าหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ผลการวิจัย 1. กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเน้นวิสัยทัศน์ร่วมมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1.1 กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมระหว่างชุมชนกับโรงเรียน ซึ่งมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ผู้วิจัยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและครูในโรงเรียน ระยะที่ 2 ชุมชนและโรงเรียนร่วมกับดำเนินการสร้างวิสัยทัศน์โดยมีผู้วิจัยทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก 1.2 จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเน้นวิสัยทัศน์ร่วม มีทั้งหมด 6 ระยะ คือ 1) ศึกษาและประมวลความรู้จากท้องถิ่นโดยการเก็บข้อมูลภาคสนามและแหล่งข้อมูลด้านเอกสารในชุมชน 2) บูรณาการข้อมูลที่ได้ทั้งหมดร่วมกับมาตรฐานสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตรทั้ง 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) ยกร่างหลักสูตรโดยการจัดทำหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร 4) ประเมินความสมบูรณ์ของหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสุตร 5) ทดลองใช้หลักสูตรและประเมินผลการทดลอง 6) แก้ไขปรับปรุงหลักสูตร 2. การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมระหว่างชุมชนและโรงเรียน 2.1 วิสัยทัศน์ร่วมระหว่างชุมชนคีรีวงกับโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 74 คือ นักเรียนในโรงเรียนนี้เป็นผู้ที่มีความรู้ อันเป็นท้องถิ่นและสากล นำความรู้ไปพัฒนาตนเองและท้องถิ่น มีคุณธรรม จริยธรรม สืบทอดศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชุมชน และอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข ภายในปีการศึกษา 2553 2.2 ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกับโรงเรียนในลักษณะของความร่วมมืออย่างเป็นทางการ โดยใช้วิธีการประชุม ซึ่งมีขั้นตอนในการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน ชุมชน วิเคราะห์ เปรียบเทียบและสรุปข้อมูลเพื่อประเมินสถานภาพของโรงเรียน 2) นำเสนอวิสัยทัศน์ร่วมระหว่างชุมชนและโรงเรียน 2.3 ปัญหาและอุปสรรคหลักในการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมระหว่างชุมชนและโรงเรียนคือ ชุมชนและโรงเรียนขาดทักษะการเชื่อมโยงสภาพปัจจุบันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภายนอกชุมชน 3. ผลของการทดลองใช้หลักสูตร มีดังนี้ 3.1 ค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักการทดลองสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 ระดับความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับหลักสูตรที่นำมาทดลองใช้ พบว่า ในด้านสาระการเรียนรู้ นักเรียนเห็นว่าเนื้อเรื่องที่เรียนทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ และรักท้องถิ่นของตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนรู้สึกสนุนสนานกับกิจกรรมที่ทำอยู่ในระดับมกา และด้านสื่อการเรียนรู้ นักเรียนเห็นว่าสื่อมีความหลากหลายและมีความเหมาะสมต่อการทำกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด |
Other Abstract: | The purpose of this research was to develop a school-based curriculum by integrating the contents among the three strands namely: Social Studies, Religion and Culture, Science and Thai. This curriculum used the co-visions between Kiriwong Community and Thairathwittaya 74 School as a core for Prathomsuksa six students in school under the jurisdiction of the office of Nakhorn si Thammarat educational service area zone 1. Findings: 1. The process of the school based curriculum development using co-visions include 2 major stages. 1.1 The construction of the co-visions between local people and school personnels through strengthening good relationship between the two parties and through the collaborating effeort in building up the co-visions. 1.2 The development of the school-based curriculum through the integrating of the three subject strands: Social Study, Religion and Culture, Science and Thai. The development of the school-based curriculum consists of 6 stages as the followings: 1) Researching local wisdom through field study and documentaries analysis. 2) Integrating the gained information with the subject contents from the three subject strands. 3) Developing lesson plans and instructional materials. 4) Evaluating the curriculum validity through specialists' review. 5) Implementing the curriculum. 6) Revising of the curriculum. 2. Research results: 2.1 The Co-visions in the curriculum between Kiriwong Community and Thai Ruthwittaya School are as follows: the students will be knowledgeable both localized and internationalized, capable to apply knowledge for their self-development and locality, full of morals and ethics able to preserve arts, cultures and community identity and to live happily in the society within the academic year 2553. 2.2 Kiriwong Community members participate in the searching for the co-vision through formal meetings. Stages in the searching and establishing of the co-visions are 1) searching the necessary information through the SWOT technique 2) presenting the co-visions. 2.3 The main problem and obstacle in the establishment of vision was that the community and the school personnel lack necessary skills to connect the present conditions with the changing world outside their community. 3. The outcome of the school based curriculum implementation: 3.1 The students' post-test means score of Social Studies, Religion and Culture, Science and Thai was significantly higher than the pre- test at the level of .05. 3.2 The students' post-test means score of Social Studies, Religion and Culture, Science and Thai was higher than the stipulated criterion score 60 at the .05 level of significance. 3.3 The student's view on curriculum implementation concerned contents as enhancing their pride and sense of their local belonging at the highest level; at high level on learning activity ; at the highest level on various kinds of materials that fit for learning activities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/508 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.716 |
ISBN: | 9741764871 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.716 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyachat.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.