Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50823
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์en_US
dc.contributor.authorธีรนันท์ ปันใจลือen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:04:24Z
dc.date.available2016-12-02T02:04:24Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50823
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractในปัจจุบันเขื่อนกันคลื่นได้รับความนิยมในการป้องกันการกัดเซาะแนวชายฝั่งในประเทศไทยโดยเฉพาะอ่าวไทยตอนบน เมื่อเวลาผ่านไปโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นพ้นน้ำที่วางอยู่บนพื้นดินอ่อนตัวต้น มีการทรุดตัวลง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำจากน้ำขึ้น-น้ำลง ทำให้สันเขื่อนจมใต้น้ำทำให้เขื่อนกันคลื่นพ้นน้ำกลายเป็นเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมคลื่นที่ผ่านช่องว่างระหว่างเขื่อนพ้นน้ำและเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำด้วยแบบจำลองกายภาพ ทำการจำลองโดยคลื่นสม่ำเสมอที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ตั้งฉากกับเขื่อนกันคลื่นในอ่างจำลองคลื่นและทำการเปลี่ยนตัวแปรคุณสมบัติคลื่นและลักษณะโครงสร้างเขื่อนกันคลื่น รวมกรณีศึกษาทั้งหมด 36 กรณีศึกษา ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ระดับน้ำนิ่ง, ความชันคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะโครงสร้าง และระยะห่างช่องว่างระหว่างโครงสร้างเขื่อนกันคลื่น การศึกษาทำการวัดความคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะโครงสร้างกับคลื่นเคลื่อนที่ผ่านเขื่อนกันคลื่นในช่วงเวลาเดียวกัน ทำการหาความสูงคลื่นนัยสำคัญด้วยวิธีทางสถิติ นำความสูงคลื่นนัยสำคัญสร้างเส้นชั้นของค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านคลื่นรวมในพื้นที่ด้านหลังเขื่อนกันคลื่น เพื่อใช้ในการพิจารณาพฤติกรรมการส่งผ่านคลื่นในการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านคลื่นมีความสัมพันธ์กับความชันคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะ(Hi/L), อัตราส่วนระหว่างระยะห่างช่องว่างระหว่างเขื่อนกันคลื่นกับความยาวคลื่น (B/L) และอัตราส่วนระหว่างความลึกน้ำเหนือสันเขื่อนกันคลื่นกับความสูงคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะ (Rc/Hi) ในกรณีเขื่อนกันคลื่นพ้นน้ำ ค่าสัมประสิทธิ์การความสัมพันธ์ส่งผ่านคลื่นจะแปรผันตรงกับค่า B/L แต่จะแปรผักผันกับค่า Hi/L และ Rc/Hi โดยมีความสัมพันธ์เหมือนกันในพื้นที่ช่องว่างระหว่างเขื่อนกันคลื่นและพื้นที่อับคลื่น ในกรณีเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ มีค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านคลื่นในพื้นที่ช่องว่างระหว่างเขื่อนกันคลื่นจะแปรผันตรงกับค่า Hi/L และ Rc/Hi แต่จะแปรผกผันกับค่า B/L ส่วนในพื้นที่อับคลื่นมีค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านคลื่นในพื้นที่ช่องว่างระหว่างเขื่อนกันคลื่นจะแปรผันตรงกับตัวแปรที่ศึกษาทั้งสามตัวแปร เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของคลื่นในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น พบว่าในกรณีเขื่อนกันคลื่นพ้นน้ำ คลื่นจะส่งผ่านและกระจายตัวจากพื้นที่ช่องว่างระหว่างเขื่อนกันคลื่นเข้าสู่พื้นที่อับคลื่น แต่ในเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ คลื่นจะส่งผ่านและกระจายตัวจากพื้นที่อับเข้าสู่คลื่นพื้นที่ช่องว่างระหว่างเขื่อนกันคลื่นen_US
dc.description.abstractalternativeBreakwaters have been commonly used for coastal protection in Thailand. Since the upper Gulf of Thailand had very poor foundations, breakwaters were slowly sunk down into the ground after the construction finished. With this situation concurrent with the tidal, waves passing through these breakwaters changed their actions back and forth between emerged and submerged breakwaters. Therefore, this study aimed to investigate the transmission waves when they passed through the emerged and submerged structures. This study conducted a gap between two rubble mound breakwaters to test in the wave basin under the varied regular wave conditions and characteristics of structures. Direction of wave were perpendicular breakwater. Total of 36 cases were tested in this study. Three main variables were still water level, incident wave steepness and size of gap of breakwater. In this study incident and transmission waves were measured at the same time, then the significant wave heights were analyzed by using the wave train method. The ratio between transmission and incident significant wave heights were used to develop the contour of wave transmission coefficient for further wave behavior explanation. The result showed that the wave transmission coefficients had a relationship with incident wave steepness (Hi/L), ratio between gap of breakwater and incident wave length (B/L), and ratio between water depths over structure crest and incident wave height (Rc/Hi). For emerged breakwaters wave transmission coefficients were agreed with B/L, whereas they inversed with Hi/L and Rc/Hi in both gap and shadow zones. For submerged breakwaters wave transmission coefficients in gap zone had direct relationship with Hi/L and Rc/Hi, but they had inversed variation with B/L. For the wave transmission coefficients in shadow zone, they had direct variation with all those parameters. Considering the effect of wave transmission and diffraction in the perpendicular axis of wave direction, the result showed that wave transmitted and diffracted from gap zone to shadow zone for emerged breakwater while these wave behaviors acted vice versa for submerged breakwater.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1277-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกำแพงกันคลื่น
dc.subjectคลื่นมหาสมุทร
dc.subjectคลื่นน้ำ
dc.subjectBreakwaters
dc.subjectOcean waves
dc.subjectWater waves
dc.titleความสูงคลื่นที่ผ่านช่องว่างระหว่างโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำen_US
dc.title.alternativeWave height through gap of submerged breakwateren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมแหล่งน้ำen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1277-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670230421.pdf8.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.