Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50850
Title: ผลของ 1-เมทิลไซโคลโพรพีนต่อกระบวนการหลุดร่วงของดอกย่อยของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ขาวสนาน
Other Titles: EFFECTS OF 1-METHYLCYCLOPROPENE ON FLORET ABSCISSION PROCESS OF Dendrobium ‘KHAO SANAN’
Authors: นฤมล เตือนสติ
Advisors: กนกวรรณ เสรีภาพ
มานิต คิดอยู่
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: ขาวสนาน
หวาย (กล้วยไม้)
การร่วง (พฤกษศาสตร์)
Khao Sanan
Dendrobium
Abscission (Botany)
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของ 1-เมทิลไซโคลโพรพีน (1-MCP) ต่อกระบวนการหลุดร่วงของดอกย่อยของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ขาวสนาน โดยศึกษาอายุการปักแจกันและคุณภาพของช่อดอก การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคศาสตร์ ปริมาณเพกทิน และแอกทิวิทีของเอนไซม์ที่ย่อยสลายผนังเซลล์บริเวณ abscission zone ของดอกบานตำแหน่งที่ 1 โดยการรม 1-MCP ความเข้มข้น 0.5 ไมโครลิตร/ลิตร นาน 3 ชั่วโมง และ/หรือเอทิลีน ความเข้มข้น 0.4 ไมโครลิตร/ลิตร นาน 24 ชั่วโมง พบว่าช่อดอกกล้วยไม้ชุดที่รม 1-MCP และ/หรือ เอทิลีนมีอายุการปักแจกันนานขึ้น เปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของดอกตูมและดอกบานลดลง แต่ไม่มีผลต่อการบานเพิ่มของดอกตูม ขณะที่ชุดที่รมเอทิลีนมีอายุการปักแจกันที่ลดลง เปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของดอกตูมและดอกบานเพิ่มขึ้น และลดการบานเพิ่มของดอกตูมในช่วงแรกก่อนจะเพิ่มในช่วงหลังของการทดลอง ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์บริเวณ abscission zone ระหว่างแกนช่อดอกและก้านดอกย่อยของดอกบาน พบว่าชั้น abscission layer ประกอบด้วยเซลล์ขนาดเล็กกว่าเซลล์ข้างเคียง 3 ชั้น พบรอยฉีกบริเวณขอบด้านบน ตั้งแต่วันที่ 0 หลังการรมในทุกชุดการทดลอง และพบการแยกตลอดแนว (ดอกร่วง) ของชุดที่รมเอทิลีนตั้งแต่วันที่ 12 ในชุดควบคุมพบตั้งแต่วันที่ 16 และชุดที่รม1-MCP และ/หรือ เอทิลีน พบในวันที่ 20 หลังการรม นอกจากนี้พบว่าปริมาณเพกทินของชุดที่รม 1-MCP และ/หรือ เอทิลีน ลดลงน้อยกว่าชุดที่รมเอทิลีนและชุดควบคุม เมื่อพิจารณาแอกทิวิทีของเอนไซม์ Pectate lyase และ Polygalacturonase ของเนื้อเยื่อบริเวณ abscission zone พบว่า 1-MCP ไม่มีผลต่อแอกทิวิทีของเอนไซม์ทั้งสอง
Other Abstract: The effects of 1-Methylcyclopropene on floret abscission process of Dendrobium ‘Khao Sanan’ including vase life and quality of the inflorescences, anatomical changes, pectin content and some cell wall enzymes were investigated. The inflorescences were treated with 0.5 µl/l 1-MCP for 3 hours and/or 0.4 µl/l ethylene for 24 hours. It was found that vase life of the inflorescence treated with 1-MCP and/or ethylene increased and percentages of flower bud and open flower decreased. However, 1-MCP had no effect on flower bud opening; while ethylene treated inflorescences had short vase life and reduced quality. Anatomy of abscission zone between pedicel and rachis of the lowest open floret showed 3 small cell layers of abscission layer and appeared to be separated from the upper edge of pedicel since day 0 after treatment in all treatments. In ethylene treatment, the separation throughout the abscission zone caused floret abscission on day 12 whereas control treatment, this floret abscised on day 16. 1-MCP treatment alone and 1-MCP treatment prior to ethylene treatment exhibited the floret abscission on day 20. In addition, 1-MCP can delay a decrease of pectin content. On the other hand, 1-MCP had no effect on pectate lyase and polygalacturonase activities of the abscission zone.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50850
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.859
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.859
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5671995023.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.