Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50949
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พัชราวลัย วงศ์บุญสิน | en_US |
dc.contributor.author | นริญา จันทร์กลับ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:07:14Z | |
dc.date.available | 2016-12-02T02:07:14Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50949 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระดับประถมศึกษาของครัวเรือนไทย รวมทั้งค้นหาปัจจัยทางประชากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการแปรผันของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจาก “โครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2556” จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งมีประชากรตัวอย่างทั้งสิ้น 6,827 ราย ที่มีข้อมูลค่าใช้จ่ายทางการศึกษาและข้อมูลอื่นๆ ครบถ้วน ผลการศึกษาพบว่าประชากรตัวอย่างมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของบุตรค่อนข้างสูงโดยค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยรวมของครัวเรือน ผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุขั้นตอน แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่อการแปรผันของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระดับประถมศึกษาได้ดีที่สุด โดยอันดับที่หนึ่ง คือ หัวหน้าครัวเรือนที่สำเร็จการศึกษาในระดับที่สูงกว่ามีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระดับประถมศึกษาสูงกว่าหัวหน้าครัวเรือนที่มีสำเร็จการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่า รองลงมาได้แก่ ตัวแปรภาคที่อยู่อาศัย โดยพบว่าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระดับประถมศึกษาสูงสุด และตัวแปรรายได้เฉลี่ยรวมของครัวเรือนอธิบายการแปรผันของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระดับประถมศึกษามาเป็นอันดับที่สาม นั่นคือครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยรวมของครัวเรือนในระดับที่สูงกว่ามีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระดับประถมศึกษาสูงกว่าครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยรวมของครัวเรือนในระดับที่ต่ำกว่า | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the study was to examine household spending on child’s education, as well as, to investigate the demographic and socioeconomic factors affecting the spending on child’s primary education per Thai household. This study employed the data from the National Survey on Household Socio-Economic Survey of Thai Household Year 2013. The total sample size comprised of 6,827 cases with no missing values regarding educational spending and other factors. The result indicated that the average primary education expenditure per child was quite high (18.9%) comparing to the average household income. In addition, based on a multiple regression model it was statistically significant that (1) the household heads who have high education background would spend higher on their child’s primary education; (2) the spending on child’s primary education was relatively higher in Bangkok; and (3) household with higher income conditions tended to spend more on child’s primary education. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.438 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การสำรวจครัวเรือน | |
dc.subject | การศึกษา -- ค่าใช้จ่าย | |
dc.subject | นักเรียนประถมศึกษา -- ค่าใช้จ่าย | |
dc.subject | Household surveys | |
dc.subject | Education -- Costs | |
dc.subject | School children -- Costs | |
dc.title | ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทยกับค่าใช้จ่ายทางการศึกษาระดับประถมศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | Socioeconomic factors (in Thai households) and primary education expenditure | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ประชากรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected],[email protected] | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.438 | - |
Appears in Collections: | Pop - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5686851951.pdf | 3.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.