Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51000
Title: การจำลองเชิงตัวเลขสามมิติของผลจากแผ่นกั้นต่อสมรรถนะของเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็มอุณหภูมิสูง
Other Titles: THREE-DIMENSIONAL NUMERICAL SIMULATION OF BAFFLES EFFECT ON PERFORMANCE OF HIGH-TEMPERATURE PEM FUEL CELL
Authors: วุฒิศักดิ์ กิติปัญญา
Advisors: พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์
เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected],[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกแบบรูปร่างของแผ่นกั้นในช่องการไหลของแก๊สของเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็มอุณหภูมิสูงที่มีต่อสมรรถนะของเซลล์เชื้อเพลิงพีอีเอ็มอุณหภูมิสูง สมมติฐานหลักของงานวิจัยนี้คือ เมื่อสารตั้งต้นหรือเชื้อเพลิงไหลในช่องการไหลของแก๊สและถูกกีดขวางด้วยแผ่นกั้นในช่องการไหลของแก๊สจะทำให้สารตั้งต้นเปลี่ยนทิศทางการไหลและแพร่เข้าสู่ชั้นการแพร่ผ่านและชั้นตัวเร่งปฏิกิริยามากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเกิดปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าของสารตั้งต้นในชั้นตัวเร่งปฏิกิริยาได้สูงกว่าเซลล์เชื้อเพลิงที่ไม่มีแผ่นกั้น ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแผ่นกั้นในช่องการไหลของแก๊สช่วยเพิ่มสมรรถนะของเซลล์เชื้อเพลิงขึ้น ในงานวิจัยนี้ สมรรถนะที่ดีที่สุดของเซลล์เชื้อเพลิงพบในกรณีของเซลล์เชื้อเพลิงที่แผ่นกั้นทำมุม 45 องศา และสูง 1.125 มิลลิเมตร โดยมีกำลังไฟฟ้าสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.96 เมื่อเทียบกับเซลล์เชื้อเพลิงที่ไม่มีแผ่นกั้นในช่องการไหลของแก๊สแบบช่องเดี่ยวเมื่ออุณหภูมิดำเนินการเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส ที่ความหนาแน่นกระแส 20,000 A m-2 และสมรรถนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.01 สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงที่อุณหภูมิดำเนินการเท่ากับ 180 องศาเซลเซียส ที่ความหนาแน่นกระแส 23,000 A m-2 สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงที่มีช่องการไหลของแก๊สแบบขนานเพิ่มขึ้น เซลล์ที่มีแผ่นกั้นให้กำลังไฟฟ้าสุทธิเพิ่มขึ้นกว่าเซลล์ที่ไม่มีแผ่นกั้นร้อยละ 19.97 เมื่ออุณหภูมิดำเนินการเท่ากับ 100 องศาเซลเซียสและความหนาแน่นกระแส 19,000 A m-2 นอกจากนี้ยังมีพบว่าเซลล์เชื้อเพลิงอุณหภูมิดำเนินการ 180 องศาเซลเซียส ให้สมรรถนะที่สูงกว่าเซลล์เชื้อเพลิงอุณหภูมิดำเนินการ 100 องศาเซลเซียส เนื่องจากพลังงานจลน์ของการเกิดปฏิกิริยาเคมีของปฏิกิริยาออกซิเดชันของไฮโดรเจนและปฏิกิริยารีดักชันของออกซิเจนจะเกิดได้มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
Other Abstract: This research has the objective of studying the effect of the gas flow channel baffle configuration on the cell performance of a high-temperature proton exchange membrane fuel cell (HT-PEMFC). The main hypothesis is that when the reactant flows in the gas flow channel and is blocked by baffles, the reactant changes its direction and moves into gas diffusion layers (GDL) and catalyst layers (CL). This will increase the probability of the reactant to react with catalyst more than the HT-PEMFC without baffles. The result of this study showed that the baffles increased the performance of the HT-PEMFC. The best performance of the HT-PEMFC in this study was found with the cell that installed the baffles with an angle of 45 degrees and height of 1.125 mm. In case of single-channel type fuel cell, the net powers were increased by 9.96 and 10.01 percent when the cell was operated at 100-degree Celsius with the current density of 20,000 A.m-2 and 180-degree Celsius with the current density of 23,000 A m-2 , respectively, comparing to the one without the baffle. In case of parallel-channel type fuel cell, the net powers were increased by 19.97 percent when the cell was operated at 100-degree Celsius with the current density of 19,000 A.m-2. It was also found that the HT-PEMFC operated at the temperature of 180-degree Celsius showed higher performance than the one operated at 100-degree Celsius. This is because the chemical reaction kinetics of hydrogen oxidation and oxygen reduction reaction (ORR) is increased with the increasing temperature.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51000
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5772154923.pdf6.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.