Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51003
Title: กระบวนการพัฒนาโครงการรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษา โครงการเต๋าการ์เด้น เฮลธ์สปาแอนด์รีสอร์ท และโครงการปานวิมาน เชียงใหม่ สปา รีสอร์ท
Other Titles: The project development process of health resort : case studies of Tao Garden Health Spa & Resorts and Panviman Chiangmai Spa Resort
Authors: ทรายแก้ว บัวเกตุ
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
สถานตากอากาศ -- ไทย -- เชียงใหม่
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
Medical tourism
Resorts -- Thaoland -- Chiangmai
Real estate development
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกำลังได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แต่ยังมีปัญหาและอุปสรรค คือ ขาดคุณภาพและมาตรฐานด้านสถานที่ การบริการ และบุคลากร โดยมีโครงการที่น่าสนใจคือ สถานที่พักประเภทรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับรางวัลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย สาขาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีทั้งหมด 2 โครงการ คือ โครงการเต๋า การ์เด้น เฮลธ์สปาแอนด์รีสอร์ท เป็นรีสอร์ทประเภท Destination Spa และโครงการปานวิมาน เชียงใหม่ สปา รีสอร์ท เป็น รีสอร์ทประเภท Hotel/ Resort Spa งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาโครงการ องค์ประกอบทางภูมิทัศน์ที่เหมาะสม และปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จของสถานที่พักประเภทรีสอร์ท เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการให้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยการเก็บข้อมูลจากการสร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้บริหาร ผู้จัดการและเจ้าที่หน้าที่ดูแลรับผิดชอบแต่ละฝ่าย กรณีศึกษาละ 3 คน รวม 6 คน และผู้เข้าพัก อย่างน้อยร้อยละ 30 ของห้องพักในรีสอร์ทแต่ละกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทั้ง 2 โครงการประสบความสำเร็จ คือ 1)ด้านทำเลที่ตั้ง โดยต้องมีความสงบสูง ใกล้ชิดธรรมชาติ และมีทัศนียภาพที่สวยงาม เพราะจะส่งผลให้ผู้พักอาศัยมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ 2)ออกแบบภูมิทัศน์ภายในโครงการจะต้องมีความสอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำ และจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการบำบัดร่างกายและจิตใจของผู้เข้าพัก โดยผ่านประสาทรับรู้ทั้ง 5 คือ การเห็น การรับกลิ่น การลิ้มรส การได้ยิน และการรับรู้/สัมผัส โดยมีทั้งการใช้ธรรมชาติเดิมในพื้นที่ และการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่เลียนแบบธรรมชาติขึ้นมา 3)กิจกรรมเพื่อสุขภาพจะต้องมีความหลากหลาย มีกิจกรรมแปลกใหม่ และหมุนเวียน เพื่อทำให้เกิดการพักซ้ำของกลุ่มลูกค้า และ 4)พนักงานทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพต้องมีประสบการณ์สูง และจะต้องมีใบรับรองอย่างถูกต้อง ซึ่งชื่อเสียงของผู้เชี่ยวชาญจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้เข้าพักอีกด้วย นอกจากนี้ผู้บริหารเองควรมีนโยบายสร้างความพึงพอใจให้แก่พนักงาน เมื่อพนักงานมีความสุข งานบริการก็จะออกมาด้วยใจ
Other Abstract: Nowadays health tourism is popular in Thailand and among foreign tourists. However, there are problems and obstacles: the lack of quality and standard of locations, service and staff. There are 2 interesting medical resorts in Chiang Mai awarded The Thailand Tourism Awards for health tourism from the Tourism Authority of Thailand 1) TAO Garden Health Spa and Resort which is a destination spa type, and 2) Panviman Chiang Mai Spa Resort which is a hotel/resort spa type. This report aims to study the development process, appropriate composition of the landscape and factors supporting the success of a resort business as guidelines for health tourism entrepreneurs to improve and develop their projects by surveying and interviewing directors, managers and staff (totaling 6 persons: 3 persons in each case study) these included guest interviews constituting at least 30% of the amount of rooms in the resort. The results showed the key factors which made these 2 case studies succeed in the health resort business were 1) A location which is peaceful, close to nature and has beautiful scenery. 2) A landscape design in the resort that should be in accordance with activities and the need to improve the environment so as to be conducive to physical and mental therapy through the five senses of seeing, smelling, tasting, hearing and touching by using the original natural area in the resort and creating the nature environment simulation. 3) Health activities should have variety, newness and circulating to make guests come back and stay again. 4) All personnel have to pass training at a good standard. In particular, health professionals must be highly experienced and own authentic certificates as the reputation of experts will affect guest’s decisions. Furthermore entrepreneurs should draw up policy to make employees satisfied which will then improve the service quality because happiness will drive a good service mind.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51003
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.458
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.458
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773314125.pdf9.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.