Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51169
Title: | ค่านิยมและการใช้สื่อของเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวายไทย |
Other Titles: | Values and media usages of generations baby boomer, X, and Y in Thailand |
Authors: | ปรีชญา แม้นมินทร์ |
Advisors: | นภวรรณ ตันติเวชกุล วิฏราธร จิรประวัติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | เบเบี้บูมเจนเนอเรชัน เจนเนอเรชันเอ็กซ์ เจนเนอเรชันวาย ค่านิยม การสื่อสาร Baby boom generation Generation X Generation Y Values Communication |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาค่านิยมของเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวาย 2. ศึกษาการใช้สื่อของเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวาย 3. ศึกษาความสัมพันธ์ของค่านิยมและการใช้สื่อของเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวาย โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่หนึ่งคือการพัฒนาเครื่องมือวัดค่านิยมไทย ซึ่งพัฒนามาจาก 3 แหล่งข้อมูลคือ แหล่งข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับค่านิยม แหล่งข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน และแหล่งข้อมูลประชาชนกรุงเทพทั่วไป จากการสัมภาษณ์ปลายเปิดประชาชนเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์ และวาย เจเนอเรชั่นละ 150 คน จากนั้นนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทั้งสาม มาจัดทำเครื่องมือวัดค่านิยม ขั้นตอนที่ 2 คือการศึกษาค่านิยมและการใช้สื่อของเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวาย ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ 1,299 ชุด ประกอบด้วยเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ 438 ชุด เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ 431 ชุด และเจเนอเรชั่นวาย 430 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สิถิติเชิงพรรณนา และใช้สิถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson 's Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์คือ 1. ค่านิยมมีความเป็นระบบและมีความสัมพันธ์กัน และเจเนอเรชั่นที่ต่างกันมีค่านิยมที่ต่างกันทั้งในแง่ของลำดับและคะแนน อย่างไรก็ดีมีค่านิยมบางค่านิยมที่ลำดับใกล้เคียงกันทั้งสามเจเนอเรชั่น เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับครอบครัว คือ การมีความสามารถในการเลี้ยงดูบิดามารดา การที่สมาชิกในครอบครัวมีอนาคตที่ดี และการมีครอบครัวที่มีความสุข และอบอุ่น ซึ่งเป็นค่านิยมห้าอันดับแรกของทุกเจเนอเรชั่น 2. เจเนอเรชั่นที่ต่างกันใช้สื่อต่างกันทั้งในแง่การเปิดรับสื่อและประเภทเนื้อหาของสื่อ อย่างไรก็ดีมีประเภทเนื้อหาของสื่อที่ทั้งสามเจเนอเรชั่นเปิดรับในลำดับที่ใกล้เคียงกัน เช่น เนื้อหาของสื่อประเภทข่าว ประเภทบันเทิง ประเภทขำขัน ตลก สนุกสนาน และประเภทการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นประเภทเนื้อหาที่อยู่ในห้าอันดับแรกของทุกเจเนอเรชั่น 3. การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับค่านิยมในระดับต่ำทั้งในทางลบและทางบวก |
Other Abstract: | The objectives of this research are: 1) to understand Thai Values 2) to understand media usages of generations baby boomer, X and Y, and 3) to study the relationship between values and media usages of generations baby boomer, X and Y. Two steps of methodologies were employed. First step was the development of values scales. The research used content analysis of information gathered from literature reviews of values concept; from the depth-interview with nine experts; from the open-ended interview with 450 respondent, from generations baby boomer, X and Y, in Bangkok. Second step was the survey of 1,299 Thais, 438 baby boomer, 431 generation X, and 430 generation Y. Descriptive statistics and inferential statistics namely Factor Analysis, One-way ANOVA and Pearson's Correlation Coefficient were used. The research found that: 1) The values, systematic and interconnected within, were different in priorities and were different when compared between generations. However, some common values especially terminal values regarding family security were on the top five ranking of all three generations. 2) Different generations had different media usage patterns, both media exposure and content type exposure. However, some common content types such as news, entertainments, comedy, and health were in the top five ranking of all three generations 3) Weak relationships were shown between values and media exposures, in both positive and negative directions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51169 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.986 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.986 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5385102028.pdf | 10.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.