Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51187
Title: | แนวคิดในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ที่สะท้อนถึงบริบทของสังคมไทยผ่านการแสดง ชุด "Contemporary visuality of Thai philosophy of life" |
Other Titles: | Creation of Thai contemporary dance Thai reflect Thai society through the performance of “Contemporary visuality of Thai philosophy of life" |
Authors: | มนูศักดิ์ เรืองเดช |
Advisors: | นราพงษ์ จรัสศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | นาฏศิลป์ไทย ศิลปะการแสดง Dramatic arts, Thai Performing arts |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยชุด คอนเทมโพรารี วิชวลลิตี้ ออฟ ไทย ฟิลลอสโซฟี ออฟ ไลฟ์ “Contemporary Visuality of Thai Philosophy of Life” ที่สะท้อนบริบทของสังคมไทย ศึกษาแนวความคิดในการสร้างงานของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนบริบทของสังคมไทย ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคคลที่เกี่ยวข้องในการแสดง เอกสาร ตำราวิชาการ สูจิบัตร ฯลฯ และสรุปวิเคราะห์หาแนวคิด การศึกษาวิเคราะห์การแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยชุด คอนเทมโพรารี วิชวลลิตี้ ออฟ ไทย ฟิลลอสโซฟี ออฟ ไลฟ์ “Contemporary Visuality of Thai Philosophy of Life” ในครั้งนี้ เพื่อนำผลงานชิ้นนี้มาศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความลึกซึ้งในด้านการออกแบบ ลีลาในการแสดง จากการวิเคราะห์ผลงานพบว่า กระบวนการ ท่าทาง ได้สื่อสารผ่านเรื่องราว ปรัชญา วิถีชีวิต สังคม ศาสนา วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ในลักษณะของความเป็นไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเรื่องศาสนาพุทธ ซึ่งผลงานชิ้นนี้มีการใช้ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ที่สามารถสื่อถึงลักษณะความเป็นนามธรรมได้หลายอย่าง เช่น เป็นตัวแทนของศาสนา ของพระพุทธศาสนา ความสงบของจิตใจ กิเลสตัณหาของมนุษย์ พฤติกรรมการแย่งชิงกัน เป็นสัญลักษณ์ที่แทนผู้คน อารมณ์ ในเหตุการณ์ต่างๆ และยังมีการใช้ศิลปะการแสดงในการสร้างสรรค์ผลงานทั้งองค์รวม เช่น การใช้ลีลา การจัดวางหรือออกแบบ ท่าทางอากัปกิริยาของนักแสดง ฉาก แสงสี การแต่งกาย เพลงประกอบการแสดง โดยใช้ศิลปะการแสดงสากลที่มีความร่วมสมัยควบคู่กับลีลาที่มีพื้นฐานมาจากนาฏยศิลป์ไทย ทำให้การแสดงชุดนี้มีความกลมกลืน มีการเคลื่อนไหว องค์ประกอบที่มีทั้งช้าและรวดเร็ว เช่น การกระโดดอย่างเบาลอยและการลื่นไหล ทำให้การแสดงมีชีวิตชีวามากขึ้น นอกจากนี้พบว่าการแสดงชุดนี้มีแนวคิดของหลักธรรมพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีไทย สภาพสังคมไทย ซึ่งอดีตมีจิตใจเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ขณะเดียวกันคนในสังคมก็มีการเอารัดเอาเปรียบและแย่งชิงกัน แสดงออกถึงชีวิตที่สับสน และสุดท้ายผู้คนในสังคมก็ต่างหวนหาคืนวันเก่า ๆ ทำให้ศิลปะการแสดงร่วมสมัยชุดนี้ทรงคุณค่าของสังคมไทยที่แสดงเอกลักษณ์ของชาติออกสู่สายตาของนานาชาติ การวิจัยครั้งนี้ยังพบว่าการสร้างสรรค์งานมีหลักปรัชญาสุนทรียศาสตร์ เรื่องรูปแบบสุนทรียะ ตามหลักวิชาการคือ ศิลปะที่พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อันมีวัฒนธรรมของไทยเป็นรากฐานตลอดจนจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษางานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยต่อไป |
Other Abstract: | The aim of this thesis is to study the form of a contemporary Thai dance entitled, “Contemporary Visuality of Thai Philosophy of Life,” which reflects the Thai social context. This study of the concept in the creation of an example of contemporary Thai dance that reflects the Thai social context was conducted by collating information from interviews with experts and people involved in dance performances, documents, textbooks, brochures etc. The collected information was summarized in order to discover the concepts. The analysis of this contemporary Thai dance, “Contemporary Visuality of Thai Philosophy of Life”, intends to study and analyze it in order to discover the depth of the performance designs and style. The analysis of the work has found that the dance postures emerge via the stories, philosophy, the way of life, society, religion, culture, tradition and custom that reflect Thai characteristics, particularly its Buddhist concepts. This dance performance uses lotus flowers to communicate abstract characteristics in many ways, for example, representing religion, Buddhism, peace of mind, human desire and competitive behaviour. The flowers also symbolize both humans and emotions in various situations. The performing art is also used to give an overall quality to the performance, for example, in the use of style, how to place or design the performers’ movements, stage scenery, lighting, costumes and music to accompany the performance. The international performing art that is contemporaneous to the Thai dance style is harmoniously blended into the performance. The movements are of both slow and quick composition, seen, for example in the dancers’ light and buoyant leaps and their fluidity, making the performance livelier. It has been found that the dance also suggests concepts in the Teachings of Buddhism, Thai culture, tradition and customs, as well as a Thai society in which, in one aspect, people are good hearted, care about and are ready to help each other and, at the same time, in another aspect, there are people who take advantage of others and compete with each other. The latter reflects a chaotic life which, eventually, causes people to look back to the good old days. This performing art is thus valuable for Thai society and it demonstrates the uniqueness of Thai society to a foreign audience. The research has also found that the creation of this performing art is endowed with an aesthetic philosophy in its aesthetic form arising from academic principles, suggesting that it is a newly created and newly developed art which is based on Thai tradition. It will contribute to further studies of Thai art and culture as well as contemporary Thai performance art. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51187 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.601 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.601 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5486807135.pdf | 6.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.