Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5119
Title: | การเสริมภูมิคุ้มกันโรคในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon ด้วย Bacillus สายพันธุ์ S11 |
Other Titles: | Immunoenhancement in black tiger shrimp Penaeus monodon by Bacillus strain S11 |
Authors: | สมบัติ รักประทานพร |
Advisors: | ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำ -- โรค -- ไทย โพรไบโอติก บาซิลลัส |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Bacillus สายพันธุ์ S11 แสดงสมบัติเป็นโพรไบโอติก ต่อการเจริญเติบโตและการเสริมภูมิคุ้มกัน ที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมโดยเซลล์ และสารน้ำในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในบ่อที่มีระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดเป็นเวลา 90 วัน พบน้ำหนักตัวและการรอดชีวิตของกุ้งกุลาดำสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเสริมโพรไบโอติกให้กุ้งระยะ postlarvae แต่ไม่มีผลเพิ่มน้ำหนัก และการรอดชีวิตในกุ้งระยะวัยรุ่น Bacillus สายพันธุ์ S11 มีผลกระตุ้นประสิทธิภาพการกลืนทำลายสิ่งแปลกปลอม โดยวิธีฟาโกไซโตซีส ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ฟาโกไซโตซีส และฟาโกไซติก อินเด็กซ์ และเพิ่มปริมาณฟีนอลออกซิเดสในเม็ดเลือดกุ้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อทดสอบความต้านทานต่อการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคด้วย V.harveyi สายพันธุ์ 1526 เป็นเวลา 10 วัน กุ้งกลุ่มที่ได้รับ Bacillus สายพันธุ์ S11 เสริมในอาหารมีเปอร์เซนต์การตายสะสม (45.7%) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโพรไบโอติก (64.5%) และพบเปอร์เซนต์ฟาโกไซโตซีส, ฟาโกไซติก อินเด็กซ์ และจำนวนเม็ดลาเท็กซ์ที่ถูกกินต่อเซลล์ ถูกชักนำให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเหนี่ยวนำให้เกิดโรคด้วย V.harveyi สายพันธุ์ 1526 มีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกุ้งทั้งสองกลุ่มการทดลอง คือ จำนวนเม็ดเลือดรวมของกุ้งจะลดลง ส่วนเปอร์เซ็นต์ฟาโกไซโตซีส ฟาโกไซติก อินเด็กซ์ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียจะสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) |
Other Abstract: | Effect of probiotic Bacillus strain S11 on the growth and immunoenhancement either by cellular or humoral defenses in Penaeus monodon were shown after feeding black tiger shrimp in closed-recirculating pond for 90 days. Shrimp weight and their survival in postlarvae shrimp but not in juvenile ones were significantly higher (p<0.05) than those of control group. Bacillus strain S11 could also efficiently activate and increase the engulfment of foreign particles (phagocytosis) as shown by the significant increase of %phagocytosis, phagocytic index and phenoloxidase at the level of p<0.05. When performing for the challenge test by Vibrio harveyi strain 1526 for 10 days, accumulation of mortality (45.7%) was lower in shrimp fed probiotic supplement as compared to a control one (64.5%). Furthermore %phagocytosis, phagocytic index and average number of the beads ingested per cell of probiotic treated shrimp were significantly higher (p<0.05). The effect from the challenge test by Vibrio harveyi strain 1526 on immune activition in both probiotic and control groups was observed and found that their total hemocytes decreased but %phagocytosis, phagocytic index and antibacterial activity increased significantly (p<0.05) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5119 |
ISBN: | 9743330186 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sombat.pdf | 6.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.