Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51322
Title: กระบวนการสร้างสรรค์ภาพถ่ายโฟโต้บุ๊คเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ
Other Titles: Creative process of photobooks for enhancing self-esteem of the elderly
Authors: นัฏณัฎฐ์ จูเปีย
Advisors: ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: ภาพถ่าย
หนังสือภาพ
ความนับถือตนเองในผู้สูงอายุ
Photographs
Photobooks
Self-esteem in old age
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องกระบวนการสร้างสรรค์ภาพถ่ายโฟโต้บุ๊คเพื่อเสริมสร้าสงการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ภาพถ่ายโฟโต้บุ๊คเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ และ 2)เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อภาพถ่ายโฟโต้บุ๊ค ใช้การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) เพื่อผลิตภาพถ่ายโฟโต้บุ๊ค ผลการวิจัยมีดังนี้ กระบวนการสร้างสรรค์โฟโต้บุ๊คประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการหาและคัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบ โดยใช้แนวคิดการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุมาเป็นหลักเพื่อวางกรอบการทำงาน จากการคัดเลือกจึงได้ผู้สูงอายุจำนวน 6 ท่าน เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับภาพถ่ายโฟโต้บุ๊ค จำนวน 5 เรื่องราวโดยแบ่งเรื่องราวแต่ละตอนด้วยการใช้สีที่แตกต่างกัน 5 สี 2) ขั้นตอนการออกแบบและสร้างสรรค์โฟโต้บุ๊ค โดยมีขั้นตอนย่อยคือขั้นตอนการสัมภาษณ์หาแนวคิดในการทำงานและการถ่ายภาพเพื่อนำเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำโฟโต้บุ๊ค โดยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์ชีวิตความเป็นอยู่ แนวคิด และทัศนคติ โดยใช้วิธีการสังเกต การสอบถาม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ กับผู้สูงอายุเพื่อนำข้อมูลเชิงข้อความที่ได้มาผนวกกันกับภาพถ่ายซึ่งการถ่ายภาพใช้วิธีการถ่ายภาพ 2 แบบ คือ การถ่ายภาพแบบไม่เป็นทางการเพื่อเน้นความเป็นธรรมชาติของตัวแบบและการถ่ายภาพแบบเป็นทางการเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ของเนื้อหา เช่น ร่องรอยความแก่ชรา อิริยาบถการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ขั้นตอนการทำรูปเล่มภาพถ่ายโฟโต้บุ๊ค โดยทั้งภาพและข้อความที่คัดเลือกมาได้ จะถูกใช้ในการจัดวางตัวอักษร การจัดวางภาพถ่ายให้เป็นเอกภาพสอดคล้องกับเนื้อหาหลักของแต่ละเล่ม โดยนำเสนอภาพถ่ายโฟโต้บุ๊คออกมา 2 แบบ คือแบบเล่มเล็กขนาด 8x8 นิ้ว รวมเรื่องราวทั้ง 6 คน และแบบใหญ่ขนาด 12x12 นิ้วแยกเรื่องตามรายบุคคล เพื่อขยายจัดเน้นที่ยังไม่ได้ถูกพูดในเล่มรวมให้เด่นขึ้น 3) ขั้นตอนการเผยแพร่และสอบถามความคิดเห็นจากผู้รับชมโดยการจัดนิทรรศการภาพถ่ายโฟโต้บุ๊คด้วยวิธีแจกแบบสอบถามให้ผู้รับชมผลงานที่เป็นผู้สูงอายุจำนวน 50 ชุด พร้อมทั้งสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากผู้สูงอายุต้นแบบและผู้ใกล้ชิดผู้สูงอายุต้นแบบประกอบด้วย ผลการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่พบว่าผลงานภาพถ่ายโฟโต้บุ๊คสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ตอบแบบสอบถามมองเห็นคุณค่าในตนเองได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คิดว่าผลงานภาพถ่ายโฟโต้บุ๊คสามารถสร้างความรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองและมีแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตต่อไปได้ จากการสอบถามความคิดเห็นถึงในส่วนของภาพถ่ายและข้อความพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า ภาพถ่ายเป็นสิ่งที่สามารถสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองได้มากกว่าข้อความที่ใช้ประกอบภาพ และสุดท้ายภาพถ่ายโฟโต้บุ๊คทั้ง 5 เรื่องราว มีส่วนเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุได้ในระดับใกล้เคียงกันทั้ง 5 เรื่องราว
Other Abstract: The objectives of this study were to 1) explore the creative process of making photobooks to enhance self-appreciation among the elderly, and 2) examine the attitudes of those who had a look at such photographs. Creative research was used to produce the photobooks. It was found that there were four steps in this process as follows: 1) the selection of the model elderly, 2) Design and creation of photobooks including searching of concept and conducting interviews and taking photographs, making photobooks, and 3) publication and eliciting opinions. The concepts involved the design of printing media, design of photo albums and the self-appreciation among the elderly. Six seniors were chosen as models and there were five themes to cover, each of which was represented by five different colors. The data from the interviews and the photographs were used as primary data for making photobooks. The interview included the elderly’s living condition and attitudes, in addition to observation and participation in their activities. These descriptive data were incorporated in the photographs that were taken informally and formally. Their informal photographs focused on the general settings while the formal ones were taken to complement the content such as their wrinkles and their everyday life. As for the third step, the selected photographs and texts were arranged according to each theme. There were two kinds of photobooks – a small one and a big one. The small one (8” x 8”) contained the stories of all six elderly while the big one (12” x 12”) presented each person’s story that was not mentioned in the small photobooks. Finally, an exhibition showcasing the photobooks was held; fifty elderly guests were invited to the exhibition and were asked to fill out a questionnaire eliciting their opinions about the photobooks. In addition, the models and those who were close to them were asked for their opinions about the photographs. According to the opinion survey, most agreed that the photobooks could inspire them to have self-appreciation and to want to have a quality life. In terms of photographs and texts, they viewed that photographs could provide them with greater inspiration than the texts. It was inconclusive in determining which theme could further enhance the elderly’s self-appreciation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51322
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.976
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.976
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684674828.pdf13.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.