Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51346
Title: | การศึกษาประสิทธิผลระหว่างยาวาเรนิคลินและยานอร์ทริปไทลินในการเลิกบุหรี่ระยะสั้นสำหรับผู้ป่วยนอก |
Other Titles: | Comparison of efficacy of varenicline and nortriptyline short-term smoking cessation in outpatient setting |
Authors: | ปรเมศร์ ขุนรงณ์ |
Advisors: | ฉันชาย สิทธิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected],[email protected] |
Subjects: | การเลิกบุหรี่ การรักษาด้วยยา คนสูบบุหรี่ การใช้ยา Smoking cessation Chemotherapy Cigarette smokers Drug utilization |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มาและวัตถุประสงค์ : ปัจจุบันมียาสำหรับช่วยเลิกบุหรี่อยู่ 5 ชนิด ได้แก่ สารทดแทนนิโคติน, บูโพรเพียน, โคลนิดิน, นอร์ทริปไทลิน และวาเรนิคลิน พบว่าวาเรนิคลินมีประสิทธิผลที่เหนือกว่าบูโพรเพียนและสารทดแทนนิโคติน และยังพบว่าอัตราการเลิกบุหรี่ของผู้ที่ใช้บูโพรเพียนดีกว่าผู้ที่ใช้นอร์ทริปไทลินแต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ. การศึกษาในอดีตของเราพบว่าอัตราการเลิกบุหรี่ของวาเรนิคลินและนอร์ทริปไทลินในผู้ป่วยในไม่มีความแตกต่างกัน การศึกษานี้ได้ประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาวาเรนิคลินและยานอร์ทริปไทลินในการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยนอก วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบสุ่ม โดยให้รับประทานยา 12 สัปดาห์และติดตามต่อจนครบ 16 สัปดาห์ เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 ถึง เดือนธันวาคม 2558 ณ คลินิกเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งจะคัดเลือกผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าวันละ 10 มวน อายุ 18 ถึง 75 ปี จำนวน 60 คนเพื่อที่จะสุ่มให้รับประทานยานอร์ทริปไทลิน (10มก. ถึง 50มก.ต่อวัน)จำนวน 30 คน หรือ ยาวาเรนิคลิน (0.5มก. ถึง 2มก.ต่อวัน)จำนวน 30 คน โดยผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการสอนการเลิกบุหรี่ด้วยทุกครั้งที่มาตามนัด ผู้ป่วยจะมีการประเมินตนเองเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่และจะยืนยันโดยการวัดระดับคาร์บอนมอนอไซด์ของลมหายใจออกที่คลินิกเลิกบุหรี่ วัตถุประสงค์หลักคือ อัตราการเลิกบุหรี่ 1 สัปดาห์(PAR; Point Prevalence Abstinence Rate)ก่อนการมาตรวจตามนัดที่สัปดาห์ที่ 2, 4, 8, 12 และ 16 วัตถุประสงค์รองคือ ผลข้างเคียงของการรักษาและการกลับมาสูบบุหรี่ซ้ำในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา ผลการศึกษา : อัตราการเลิกบุหรี่ที่ 1 สัปดาห์ก่อนการมาตรวจ ณ สัปดาห์ที่ 12 และ สัปดาห์ที่ 16 ของผู้ป่วยที่ใช้ยานอร์ทริปไทลินคือ ร้อยละ 30 และ ยาวาเรนิคลิน ร้อยละ 56.67 (p=0.037) ไม่มีความแตกต่างของอาการถอนบุหรี่และการกลับไปสูบซ้ำของยาทั้ง 2 กลุ่ม อาการข้างเคียงจากการใช้ยานอร์ทริปไทลิน คือ ปากแห้ง 24(80%), ง่วงนอน 16(53.3%),ใจสั่น 3(10%), ปวดศีรษะ 1(3.3%) และอาการคลื่นไส้ 1(3.3%). อาการข้างเคียงจากการใช้ยาวาเรนิคลิน คือ ปากแห้ง 9(30%), คลื่นไส้ 7(23.3%), ปัญหาเรื่องการนอน 7(23.3%) และง่วงนอน 3(10%). ไม่พบอาการข้างเคียงจาการใช้ยานอร์ทริปไทลิน 2(6.7%) และวาเรนิคลิน 9(30%) สรุปผลการศึกษา : อัตราการเลิกบุหรี่ที่ 1 สัปดาห์ก่อนมาตรวจ ณ สัปดาห์ที่ 12 และ 16 ของกลุ่มที่ใช้ยาวาเรนิคลินดีกว่ากลุ่มที่ใช้ยานอร์ทริปไทลีน แต่อย่างไรก็ตามควรมีการใช้ขนาดประชากรศึกษาที่มากขึ้นและระยะเวลาในการรักษาและติดตามนานขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการทั้ง 2 ตัวนี้ |
Other Abstract: | Background and Rationale : Current drugs used for smoking cessation 5 types; nicotine replacement therapy(NRT), bupropion, clonidine, nortriptyline and varenicline. Varenicline has more efficacy than bupropion or NRT for tobacco smoking cessation. Abstinence rates were higher with bupropion than nortriptyline but no statistical significant. Our previous study demonstrated no difference between efficacy of varenicline and nortriptyline for smoking cesstion in inpatient. This study evaluates the efficacy and safety of varenicline and nortriptyline for smoking cessation in the outpatient. Materials and methods : Randomized, double-blind, controlled trial, 12weeks treatment and 16weeks follow-up trial was conducted during June,2015 to December,2015 at smoking cessation clinic King Chulalongkorn Memorial Hospital. We recruited active smoking,smoked more than 10 cigarettes/day and aged 18 to 75years. 60 subjects were randomized to receive nortriptyline (10 to 50 mg/day)(n=30) or varenicline (0.5 mg/day and titrated to 2 mg/day)(n=30), along with smoking-cessation counseling. Smoking status was established by self-report and confirmed at clinic visits by end expiratory carbon monoxide. The primary end point was Point Prevalence Abstinence Rate (PAR) at weeks 2, 4, 8 ,12 of treatment and 4 weeks after treatment. The secondary end point were adverse events and recurrent smoking during treatment and post treatment Results : The PARs at week 12 and 16 were 30% with nortriptyline versus 56.7% with varenicline (p = 0.037). There are not statistical significant different in nicotine withdrawal symptom and the rate of recurrent smoking between patients recieved between nortriptyline or varenicline. The patients who were on nortriptyline had dry mouth 24(80%), sleepy 16(53.3%) palpitation 3(10%) headache 1(3.3%) and nausea symptom 1(3.3%). The patients who were on varenicline had dry mouth 9(30%), nausea symptom 7(23.3%),sleep disorders 7(23.3%) and sleepy 3(10%). There are no adverse effects (30% and 6.7% for varenicline and nortriptyline respectively) Discussion : PARs tended to be greater than in varenicline compared with nortriptyline over 12 week of treatment and 16 week of follow up . Larger scale and longer duration trials are needed to verify the efficacy of nortriptyline and Varenicline |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51346 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.693 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.693 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774046130.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.