Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51603
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับแอนติเจน ปริมาณไวรัสและพังผืดของตับในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในระยะต่างๆของโรค
Other Titles: Relationship between viral antigen, HV DNA level and hepatic firosis in HBV infected patients during the natural history of chronic hepatitis B.
Authors: กิตติยศ ภู่วรวรรณ
Advisors: ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์
พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: แอนติเจนตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบบี -- ผู้ป่วย
Hepatitis associated antigen
Hepatitis B virus
Hepatitis B virus -- Patients
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างระดับ ของระดับ HBsAg titers และ HBV DNA levels กับระดับพังผืดของตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในระยะต่างๆของโรคยังมีข้อมูลน้อย ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วย วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของระดับ HBsAg titers และ HBV DNA levels กับระดับพังผืดของตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในระยะต่างๆของโรค ระเบียบวิธีการ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ยังไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน 176 ราย ได้รับการตรวจประเมิน ระดับพังผืดของตับโดยเครื่องตรวจพังผืดตับ(ไฟโบรสแกน). ประเมินระดับ HBsAg titers และ HBV DNA levels. และประเมินผู้ป่วยเพื่อจำแนกระยะของโรคและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่ม. ผลการวิจัย ผู้ป่วยชาย 113 รายและผู้ป่วยหญิง 63 ราย อายุเฉลี่ย 43 ปีได้เข้าร่วมการศึกษา โดยผู้ป่วยอยู่ในกลุ่ม HBeAg positive, HBeAg negativeที่มีการแบ่งตัวของไวรัสน้อย และ HBeAg negative ที่มีไวรัสมากหรือมีการอักเสบ เป็นจำนวน 29, 69 และ 78 รายตามลำดับ. จากการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ป่วย HBeAg positive มีระดับ HBsAg ที่สูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มี HBeAg negative โดยมีค่าเฉลี่ย 19797 และ 4282 IU/ml ตามลำดับ ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.01). ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับ HBsAg level ในกลุ่มผู้ป่วย HBeAg negative ทั้งสองกลุ่ม จากการศึกษาพบว่าระดับ HBsAg มีความสัมพันธ์กับระดับ HBV DNA level ทั้งในกลุ่ม HBeAg positive และ HBeAg negative ที่มีไวรัสมากหรือมีการอักเสบ โดยพบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.698 และ 0.287 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01 และ p=0.01 ตามลำดับ). ไม่พบความสัมพันธ์ของระดับพังผืดของตับประเมินโดยเครื่องตรวจพังผืดตับกับระดับ HBsAg และ HBV DNA Level สรุป จากการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของระดับพังผืดของตับประเมินโดยเครื่องตรวจพังผืดตับกับระดับ HBsAg และ HBV DNA Level โดยกลุ่มผู้ป่วย HBeAg positive มีระดับ HBsAg ที่สูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มี HBeAg negative และ พบว่าระดับ HBsAg มีความสัมพันธ์กับระดับ HBV DNA level ทั้งในกลุ่ม HBeAg positive และ HBeAg negative ที่มีไวรัสมากหรือมีการอักเสบ
Other Abstract: Introduction Relationship between hepatitis B surface antigen (HBsAg) level, HBV DNA Level and Hepatic Fibrosis during the natural course of hepatitis B virus (HBV) infection are still unknown. Our objective is to correlate HBsAg level, HBV DNA and liver fibrosis in patients with different phases of chronic hepatitis B infection. Subjects and Methods One hundred seventy six patients with chronic hepatitis B without previous treatment were recruited. Clinical, demographic, and laboratory data were collected. Liver fibrosis was assessed by transient elastography (Fibroscan). We determined quantitative HBsAg titer, HBV DNA level. Patients were classified into each phase of diseases and analysed the correlation. Results One hundred thirteen males and 63 females at mean age of 43 years were studied. Patients were classified in to HBeAg positive(n=29), HBeAg negative with low replicative(n=69) and HBeAg negative with high viral load(n=78). In patients with HBeAg positive, HBsAg levels were significantly higher than those of patients with HBeAg negative(Mean 19797 VS 4282 IU/ml, p<0.01). No difference in HBsAg level between low replicative and HBeAg negative with high viral load group(Mean 3689 VS 4806 IU/ml, p=0.32). HBsAg levels were significantly correlated with HBV DNA level in HBeAg positive and HBeAg negative with high viral load groups( r = 0.698, P < 0.01 and r = 0.287, p=0.01 respectively). We neither found any correlation between Liver fibrosis measured by Fibroscan and HBsAg level nor HBV DNA Level. Conclusions HBsAg levels were significantly higher in patients with HBeAg positive than those of patients with HBeAg negative. Some correlations were observed between HBsAg levels and HBV DNA level. No crossectional relationship between liver fibrosis measured by Fibroscan and HBsAg level or HBV DNA Level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51603
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2073
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2073
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kittiyod_po.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.