Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51958
Title: | ความรับผิดทางแพ่งในการขนส่งสินค้าอันตราย |
Other Titles: | Civil liability for carriage of dangerous goods |
Authors: | พิมสิริ อึงขจรกุล |
Advisors: | ชยันติ ไกรกาญจน์ จุฬา สุขมานพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | วัตถุอันตราย -- การขนส่ง วัตถุอันตราย -- การขนส่ง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ Hazardous substances -- Transportation Hazardous substances -- Transportation -- Law and legislation |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีนำเข้าสินค้าอันตรายเพื่อใช้ในทางอุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม เกษตรกรรม หรือใช้ในทางครัวเรือนมากขึ้นทุกปีๆ การขนส่งจึงเข้ามามีบทบาทมากในการที่จะทำให้สินค้าอันตรายเหล่านั้นถึงมือผู้บริโภคได้ แต่แม้จะมีหลักเกณฑ์ที่ให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าอันตรายต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่งสินค้าอันตรายอันส่งผลกระทบต่อชีวิต สุขภาพ อนามัยของมนุษย์หรือทรัพย์สินและอาจจะก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องละเมิด กำหนดให้ผู้ที่จะต้องรับผิดคือ ผู้ที่ครอบครองสินค้าอันตรายหรือยานพาหนะในขณะที่เกิดความเสียหาย แต่บุคคลดังกล่าวที่เป็นผู้ขับขี่หรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง อยู่ในสถานะทางการเงินไม่เพียงพอในการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นจำนวนมากได้ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการครอบครองสินค้าอันตราย แต่ก็ยังไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศตาม Convention on Civil Liability for Damage caused during Carriage of Dangerous Goods by Road, Rail and Inland Navigation Vessels (CRTD) ที่ว่าด้วยเรื่องความรับผิดของผู้ขนส่งที่จะต้องมีการจำกัดความรับผิดเอาไว้ เพราะหากให้ผู้ขนส่งรับภาระในเรื่องค่าสินไหมทดแทนในจำนวนที่สูงแล้ว ผู้ขนส่งก็อาจจะปรับค่าระวางการขนส่งให้สูงขึ้น และจะส่งผลกระทบในเรื่องราคาของสินค้าที่อาจจะต้องปรับสูงขึ้นตามไปด้วย ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่าประเทศไทยควรจะมีกฎหมายเฉพาะ ที่ว่าด้วยเรื่องความรับผิดทางแพ่งในการขนส่งสินค้าอันตรายโดยนำหลักการของ Convention on Civil Liability for Damage caused during Carriage of Dangerous Goods by Road, Rail and Inland Navigation Vessels (CRTD) มาปรับใช้ โดยกำหนดให้ผู้ขนส่งและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตรายคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการจัดการสินค้าอันตราย จะต้องเป็นผู้รับผิดโดยตรง จัดให้มีระบบประกันภัยภาคบังคับ และจัดตั้งกองทุนทดแทนความเสียหายจากการขนส่งสินค้าอันตราย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างเพียงพอ และในขณะเดียวกันก็จะไม่ส่งผลกระทบถึงธุรกิจของผู้ขนส่งสินค้าอันตรายมากจนเกินไปนัก |
Other Abstract: | At present. Thailand has been yearly importing increasing quantities of dangerous goods for use in industries, commerce, agriculture and in household. Transportation or carriage of such goods thus play very important role in enabling such goods reaching consumers. Even though there exist strict regulations for carriers to follow, accidents still occur during the carriage causing damage to human lives, health, properties as well as environment. According to civil and commercial code those who are liable for damages arising from the carriage of dangerous goods are those who take control of goods or vehicle or performing such goods when danger occur. As a rule the said persons are normally drivers or employee of the carriers and these people do not have enough financial resources to pay for the actual damages arising from such damage which are usually of large magnitudes. In an effort to solve the said problem, The Dangerous Substances Act B.E. 2535 and The Protect and Promotion of Environment Act B.E. 2535 were enacted but they still fail to conform with International Convention on Civil Liability for Damage caused during Carriage of Dangerous Goods by Road, Rail and Inland Navigation Vessel (CRTD) due to the fact that there has to be a limit liability on the damage borne by the carriers are required to pay for very large amount arise from damages during carriage. The carriers will have to adjust freight upwards which will in turn push up the price of such goods. The writer would therefore propose that Thailand should enact specific law to govern civil liability for the carriage of dangerous goods by incorporating principles from Convention on Civil Liability for Damage caused during Carriage of Dangerous Goods by Road, Rail and Inland Navigation Vessels (CRTD) with provisions specifying clearly the party that will be directly liable for damage arising from the carriage such as carrier and/or any other person who fail to his duty to manage the dangerous goods by law, compulsory insurance and constituting funds for payment of damages arising from carriage of dangerous goods so that the party or parties sustaining damage will receive equitable compensation while the business of carriage will not be effected too much. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51958 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.344 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.344 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pimsiri_un_front.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pimsiri_un_ch1.pdf | 729.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
pimsiri_un_ch2.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pimsiri_un_ch3.pdf | 5.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pimsiri_un_ch4.pdf | 4.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pimsiri_un_ch5.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pimsiri_un_back.pdf | 3.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.