Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52100
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิราพร เกศพิชญวัฒนา | - |
dc.contributor.advisor | วาสินี วิเศษฤทธิ์ | - |
dc.contributor.author | จินต์จุฑา รอดพาล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-03-01T08:28:46Z | - |
dc.date.available | 2017-03-01T08:28:46Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52100 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายการตายดีที่มาจากมุมมองของผู้สูงอายุไทยพุทธ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เป็นระเบียบวิธีวิจัย ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 5 ชมรม รวม40 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ทำการสนทนากลุ่มมีการบันทึกเทปร่วมกับการสังเกตและการบันทึกภาคสนาม ทำการถอดเทปบทสนทนาจากการสนทนากลุ่มโดยการถอดข้อความแบบคำต่อคำ (Verbatim Transcription) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยนำเสนอตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ ผลการวิจัย พบว่า ความหมายการตายดีจากมุมมองของผู้สูงอายุไทยพุทธประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ซึ่งได้แก่ 1) ตายอย่างสงบ เป็นการจากไปอย่างสงบเหมือนคนนอนหลับ จิตไม่ฟุ้งซ่าน รักษาใจให้เป็นปกติสามารถน้อมนำจิตใจให้สงบโดยการระลึกถึงสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลที่ได้สร้างสมมา 2) ตายตามธรรมชาติ เป็นการตายตามอายุขัยหมดสภาพของสังขารร่างกายค่อยๆหมดไปตามธรรมชาติ ไม่ป่วยนานเป็นภาระให้ลูกหลานต้องมาดุแล ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยการรั้งชีวิต ในยามที่จะจากไปมีลูกหลานห้อมล้อมเกิดการยอมรับต่อการจากไป และ 3) ตายอย่างหมดห่วง เป็นการตายที่หมดห่วงหลังจากมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆไว้แล้ว ทั้งในด้านเตรียมใจตนเอง เตรียมครอบครัว เตรียมทรัพย์สมบัติ และการเตรียมทำบุญสะสมบุญสะสมความดี จากผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการตายดีที่มาจากมุมมองของผู้สูงอายุไทยพุทธ โดยบุคลากรทางสุขภาพสามารถใช้ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุเมื่อเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิตเพื่อให้เกิดการจากไปอย่างสงบตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to explore the meaning of good death from perspectives of Thai Buddhist elderly. A qualitative research method by focus group discussion was applied as a methodology in this study. Five focus groups discussion were done with forty participants which were Thai Buddhist older persons member of elderly clubs in Ayutthaya province. The focus group discussion were tape-recorded, observation, and field note writing. The focus group discussion were transcribed verbatim and data were analyzed by content analysis. Results of the study were displayed as followed. The meaning of good death from perspectives of Thai Buddhist elderly consisted of three themes: 1) Death with peacefulness means dying person having peaceful mind without confuse, as a sleep and concentrating to good and merits been done that person. 2) Natural death means death as end of life course, expired of physical body slowlingly according to nature, not be burdensome to others, surrounded by descendants and accepted to one’ death. 3) Death without worrisome means dying with preparedness of mind, family, property, and merit. This study explained meaning of good death perspectives from Thai Buddhist elderly. Health providers can use the finding of this study to develop nursing care for elderly at the end of life for peaceful death straight to demand of elderly. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.534 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความตาย | en_US |
dc.subject | ความตาย -- แง่ศาสนา | en_US |
dc.subject | Death | en_US |
dc.subject | Death -- Religious aspects | en_US |
dc.title | การตายดี : มุมมองจากผู้สูงอายุไทยพุทธ | en_US |
dc.title.alternative | Good death : perspectives from thai buddhist elderly | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.534 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jinjuta_ro_front.pdf | 985.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jinjuta_ro_ch1.pdf | 882.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jinjuta_ro_ch2.pdf | 9.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jinjuta_ro_ch3.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jinjuta_ro_ch4.pdf | 3.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jinjuta_ro_ch5.pdf | 2.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
jinjuta_ro_back.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.