Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5221
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ สำหรับผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน |
Other Titles: | A Development of the learning organization model for developing workers' skills in industrial workplaces : a case study of automotive assembly and parts industry |
Authors: | วุฒิพล สกลเกียรติ |
Advisors: | อาชัญญา รัตนอุบล วิกร ตัณฑวุฑโฒ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ การฝึกอบรม แรงงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ -- ลูกจ้าง อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- ลูกจ้าง |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการคือ ปัจจัยในการจัดการเรียนรู้ ทักษะที่จำเป็นและขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ โดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณประกอบเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มแบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มพนักงานสายการผลิตและกลุ่มผู้จัดการเรียนรู้และผู้เกี่ยวข้อง ในบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน จำนวน 2 แห่ง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตีความ สรุปและร่างรูปแบบ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและพิจารณาความเป็นไปได้ ในการนำไปใช้จริงในสถานประกอบการและสรุปเพื่อนำเสนอรูปแบบ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการคือ 1. ปัจจัยในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายนอกสถานประกอบการ (ลูกค้าบริษัท บริษัทคู่แข่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา กฎหมาย มาตรฐานฝีมือแรงงาน) สภาพแวดล้อมภายในสถานประกอบการ (นโยบายและการสื่อสาร สหภาพแรงงานสัมพันธ์ วัฒนธรรมองค์กร การวิจัยและพัฒนา การจูงใจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้) งาน (การเปลี่ยนแปลงลักษณะงานและการทำงาน การปรับระบบการทำงาน การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำงาน) และผู้ใช้แรงงาน (ความสามารถในการปฏิบัติงานประจำ การสร้างทักษะที่จำเป็น ปัญหาลูกจ้างรายวัน) 2. ทักษะที่จำเป็นทั้ง 5 กลุ่ม (การทำงานประจำ การจัดการ การทำงานภายใต้สภาพแวดล้อม การเรียนรู้ในสถานประกอบการ และการสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน) รวมทั้งทักษะที่เพิ่มเติมคือ การทำงานหลากหลาย การสอนและเป็นผู้สอนที่ดี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาและมนุษย์สัมพันธ์ มีจิตสำนึกและสมาธิในการทำงาน การวางแผนควบคุมการผลิต การแก้ปัญหาด้วยตนเอง จริยธรรม ความยืดหยุ่นในการทำงาน เรียนรู้ตลอดชีวิตและใช้สื่อการเรียนรู้ การประสานงานระหว่างหน่วยงาน การทำงานเป็นทีมกิจกรรมกลุ่มย่อย 3. ขั้นตอนการจัดการฝึกอบรมทักษะ ได้แก่ (1) วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น (2) วิเคราะห์งานและผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการวัดผลความสามารถในการปฏิบัติงาน (3) ทำความเข้าใจ พิจารณาความสำคัญและบ่งชี้สาเหตุของช่องว่างที่เกิดขึ้น (4) คัดเลือกกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความสามารถการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขช่องว่างที่เกิดขึ้นจากสาเหตุการขาดทักษะเป็นหลัก (5) ประเมินความน่าจะเป็นในการนำกลยุทธ์ไปใช้และสร้างแผนปฏิบัติการ (6) นำกลยุทธ์ไปใช้เพิ่มความสามารถหรือประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน (7) วัดและประเมินผลที่เกิดระหว่างและหลังการนำไปใช้ป้อนข้อมูลกลับไปขั้นที่ 1 |
Other Abstract: | To develop a learning organization model for developing workers' skills in industrial workplaces: a case study of automotive assembly and parts industry which consisted of the 3 components : influential factors; the required skills; and the organizing process. This research was conducted by quantitative and qualitative methodology; using interview and focus group techniques to gather data with two sample groups: the worker group and the learning organizer and involved person group in two automotive assembly and parts industrial workplaces; and developed a model which was then approved by experts regarding its implementation. The finding was the three-component learning organization model. The three components were: 1. The influential factors: the workplace external environments (customers, competitive companies, IT & innovation, R&D, laws and skill standard) the workplace internal environment (policy and communication, industrial relations, organizational culture, R&D, motivation to learn), works (task and work changes, task re-system, HPWOs) and workers (task competency, needed skills formation, temporary workers' problems). 2. The required skills: task skills, task management skills, work-environment skills, workplace learning skills, and work relationship skills, including multi-skills, good coaching, IT using, soft skills, work concentration & conscience, production-control planning, self problem-solving, moral, flexible working, lifelong learning & learning media using, work units co-operating, and team-working (small group activity). 3. The 7 step organizing process: (1) Analyze what is happening. (2) Analyze tasks and worker's competency. (3) Clarify, determine the important of and identify the cause(s) of the happening gap(s). (4) Select HPE strategy to close the gap(s) caused by skill deficiency. (5) Assess the likely outcomes of implementation and establish the action plan for implementation. (6) Implement the HPE strategies. (7) Evaluate results during and after implementation, feeding information back into step 1 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5221 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.735 |
ISBN: | 9741744293 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.735 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wuthipon.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.