Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52225
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก
Other Titles: THE EFFECT OF THE INDIVIDUAL AND FAMILY SELF-MANAGEMENT PROMOTING PROGRAM ON FUNCTIONAL CAPACITY AMONG OLDER PERSONS WITH HIP FRACTURE
Authors: ธนพร รัตนาธรรมวัฒน์
Advisors: ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: ผู้สูงอายุ -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
การดูแลหลังศัลยกรรม
Older people -- Rehabilitation
Postoperative care
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมหรือการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกไว้ภายใน แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลตำรวจ โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 44 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 22 คน โดยจัดให้ทั้ง 2 กลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในด้านอายุ เพศ โรคประจำตัว และชนิดของการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวตามแนวคิดทฤษฎีการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวของ Ryan & Sawin เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถในการเดินบนพื้นราบในเวลา 6 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t=2.394, p = .021)
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to test the effect of the individual and family self-management promoting program on functional capacity among older persons with hip fracture. Purposive sampling was used to recruit 44 older persons with hip fracture admitted at orthopeadic ward, Police General Hospital. They were equally assigned into an experimental group and a control group matched by age, sex and type of operation. The instruments were the individual and family self-management promoting program based on Ryan & Sawin theory. The functional capacity measured by six-minute walk test (6MWT). The data were analyzed by mean, percentage, standard deviation, and t-test. The result showed that the mean score of functional capacity of older persons with hip fracture after receiving the individual and family self-management promoting program was significantly higher than the control group at p<05.( t = 2.394, p = .021)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52225
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.599
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.599
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677177136.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.