Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52323
Title: | การเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ได้รับมะนาวผง |
Other Titles: | EFFECT OF LIME POWDER REGIMEN TREATMENT IN KIDNEY STONE PATIENTS ON THE ALTERATION OF URINARY PROTEIN |
Authors: | พิมพ์สุดา กุลประดิษฐ์ |
Advisors: | ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์ ฐสิณัส ดิษยบุตร ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] [email protected],[email protected] |
Subjects: | นิ่วไต -- การรักษา Kidneys -- Calculi -- Treatment |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สูตรมะนาวผง ซึ่งผลิตจากน้ำมะนาวที่ผ่านการเติมซิเทรตและโพแทสเซียม มีประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับซิเทรตและโพแทสเซียมในปัสสาวะ และลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดระดับโปรตีนในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไตได้ การศึกษานี้จึงต้องการทราบชนิดของโปรตีนในปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ได้รับสูตรมะนาวผง กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษานี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคนิ่วไตที่ได้รับการสลายนิ่วแล้ว จำนวน 10 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสูตรมะนาวผง จำนวน 5 ราย และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จำนวน 5 ราย ผู้วิจัยทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ที่ก่อนเริ่ม และหลังรับสูตรมะนาวผง/ยาหลอก เป็นเวลา 6 เดือน จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนรวมในปัสสาวะ และวิเคราะห์ชนิดโปรตีนด้วยแมสสเปคโตรเมทรี นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้พิจารณาและเลือกโปรตีนที่น่าสนใจจำนวน 3 ชนิด เพื่อทำการวิเคราะห์ซ้ำในตัวอย่างปัสสาวะ ได้แก่ โปรตีนอัลบูมิน ซึ่งวิเคราะห์ด้วยด้วยวิธี immunoturbidimetric assay โปรตีนทรานสเฟอร์ริน และโปรตีนแทม-ฮอร์สฟอล ซึ่งวิเคราะห์ด้วย Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) ผลการศึกษาพบว่าโปรตีนรวมในปัสสาวะของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับสูตรมะนาวผง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่ลดลงในกลุ่มที่รับยาหลอก ผลโปรตีโอมิกส์พบว่ามีโปรตีน 17 ชนิด ที่มีปริมาณเปลี่ยนแปลงเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับสูตรมะนาวผง โดยเป็นโปรตีนที่ลดลง 16 ชนิด และโปรตีนที่เพิ่มขึ้น 1 ชนิด โปรตีนนำมาวิเคราะห์ปริมาณซ้ำ ได้แก่ โปรตีนอัลบูมิน และทรานสเฟอร์ริน ซึ่งบ่งชี้ความเสียหายของโกลเมอรูลัส และโปรตีนแทม-ฮอร์สฟอล ซึ่งมีบทบาทยับยั้งการเกิดนิ่วได้ ผลการวิเคราะห์พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับสูตรมะนาวผง มีปริมาณโปรตีนอัลบูมินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 91.63) และปริมาณโปรตีนทรานสเฟอร์รินลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ (ร้อยละ 58.44) ในขณะที่ปริมาณโปรตีนดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาหลอก นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงบวก ระหว่างปริมาณอัลบูมิน และทรานสเฟอร์รินในตัวอย่างปัสสาวะทั้งหมดอีกด้วย (0.589, p = 0.006) และในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับสูตรมะนาวผง ยังพบปริมาณโปรตีนแทม-ฮอร์สฟอลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 1,470) ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาหลอกไม่มีการเปลี่ยนแปลง สรุปผลได้ว่าการให้สูตรมะนาวผงในผู้ป่วยโรคนิ่วไต ช่วยลดปริมาณโปรตีนอัลบูมิน และเพิ่มปริมาณโปรตีนแทม-ฮอร์สฟอลในปัสสาวะ ผู้วิจัยคาดว่าผลดังกล่าวเนื่องมาจากซิเทรตและสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของสูตรมะนาวผง |
Other Abstract: | Lime powder regmimen (LPR) produced by adding citrate and potassium into lime juice was proved to be able to increase urinary citrate and potassium excretion, which reduces risk of kidney stone formation. It also alleviated urinary protein loss. However, excretion of which urinary protein is not yet elucidated. This study aimed to identify a profile of urinary protein in kidney stone patients with LPR supplement. We recruited 10 immediate post-stone removed urolithiasis patients, and randomly allocated into LPR (n=5) and Placebo (n=5) supplement group. 24-hour urine samples were collected at the initiation and after 6-month of supplement. Total urinary protein was measured. Then, urinary proteins were identified by mass spectrometry. In addition, 3 interesting proteins were selected to validate the levels. Urinary albumin was measured by immunoturbidimetric assay, while serotransferrin (TF) and Tamm-Horsfall protein (THP) were measured by ELISA. We found that urinary protein excretion was significantly decreased after supplement in only LPR group. Proteomic profiles revealed 17 proteins exclusively altered after LPR supplement. Albumin and TF, which are glomerular markers, and THP-a stone inhibitory protein, were selected to be validated. According to the validation results, markedly decreased of albumin (91.63%) and slightly decreased of TF (58.44%) were observed, while, there was no significant change of these proteins found in Placebo group. Moreover, we found positive correlation between urinary albumin and TF excretion (r = 0.589, p = 0.006). And, urinary THP was significantly increased after LPR supplement (1,470%), but not that of placebo group. We can conclude that LPR supplement attenuated urinary albumin loss and increased THP excretion. We believed that these effects were mainly due to citrate and antioxidants which were highly rich in LPR. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ชีวเคมีทางการแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52323 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.336 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.336 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774059330.pdf | 2.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.