Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52324
Title: การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากสารน้ำภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มกระตุ้นแบบฉีดเข้าในผิวหนังจำนวน 4 จุด 1 ครั้งในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน
Other Titles: Humoral immune response after a four-site intradermalrabies booster vaccination in previouslyrabies immunized HIV-infected adults
Authors: สุดา สีบุญเรือง
Advisors: เจตทะนง แกล้วสงคราม
ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected],[email protected]
[email protected],[email protected]
Subjects: โรคพิษสุนัขบ้า -- การให้วัคซีน
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Rabies -- Vaccination
HIV-positive persons
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากสารน้ำภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มกระตุ้นแบบฉีดเข้าในผิวหนังจำนวน 4 จุด 1 ครั้ง ในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี วิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 38 คนที่สุขภาพดี มีระดับเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซท์ชนิด CD4+ T cells (CD4+) ตั้งแต่ 200 เซลล์/มิลลิลิตร ขึ้นไป ซึ่งเคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน ได้รับการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มเพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มกระตุ้นแบบฉีดเข้าในผิวหนังจำนวน 4 จุด บริเวณต้นแขนและต้นขา ใช้ปริมาณวัคซีนจุดละ 0.1 มล ในวันที่ 0 หรือ แบบเข้ากล้าม (กลุ่มควบคุม)บริเวณต้นแขน ครั้งละ 1 หลอด (0.5 มล) จำนวน 2 ครั้งในวันที่ 0 และ 3 อาสาสมัครได้รับการตรวจเลือดสำหรับระดับ CD4+ ปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือด และระดับภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Neutralizing Antibody Titers; RNab) พื้นฐานก่อนได้รับการฉีดวัคซีน จากนั้นตรวจติดตาม RNab ในวันที่ 7 และ 14 ภายหลังได้รับวัคซีนเข็มแรก การตรวจ RNab ใช้วิธี Rapid Fluorescent Focus Inhibition Test (RFFIT) ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95) ในวันที่ 7 และ 14 ภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแบบฉีดเข้าในผิวหนังจำนวน 4 จุด 1 ครั้ง เท่ากับ 14.9 (10.2-37.9) และ 31.3 (23.9-65.7) IU/มล ซึ่งสูงกว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแบบเข้ากล้าม 12.9 (8.5-33.9) และ 19.8 (15.6-49.5) IU/มล แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.67 และ 0.18 ตามลำดับ) สรุปผลการวิจัย: ระดับภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มกระตุ้นแบบฉีดเข้าในผิวหนังจำนวน 4 จุด 1 ครั้ง ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี สูงกว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแบบเข้ากล้ามแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: Objective: To determine the humoral immune response after a four-site intradermal (4-site ID) rabies booster vaccination in HIV-infected adults. Methods: We conducted a randomized, controlled trial to compare the Rabies Neutralizing Antibody (RNab) after a single visit 4-site ID boosters with 0.1 mL of purified Vero cell rabies vaccine (PVRV) per injection site distributed at both deltoids and anterior thighs vs. conventional intramuscular injections using a full ampule (0.5 mL) of PVRV at the deltoid on day 0 and 3 in thirty-eight previously rabies immunized HIV-infected participants whose CD4+ count ≥ 200 cell/mm3. Serum samples were taken prior to immunization, on day 7 and 14 for serological analysis of RNab by the Rapid Fluorescent Focus Inhibition Test (RFFIT). Results: The 4-site ID regimen could elicit higher RNab titers than IM, but without statistically significant. The geometric mean (95% confidence interval) of RNab in 4-site ID vs. IM group were 14.9 (10.2-37.9) vs. 12.9 (8.5-33.9) IU/mL on day 7 (p = 0.67) and 31.3 (23.9-65.7) vs. 19.8 (15.6-49.5) IU/mL on day 14 (p = 0.18) respectively. Conclusion: There were no significant differences in the immunogenicity of 4-site ID vs. IM rabies booster vaccination in individuals infected with human immunodeficiency virus.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52324
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1274
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1274
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774102630.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.