Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52395
Title: วิธีฮิวริสติกสำหรับการจัดสรรสายพานลำเลียงสัมภาระขาเข้า
Other Titles: A heuristic method for inbound baggage carousels assignment
Authors: สันทัศน์ ไชยเวช
Advisors: มาโนช โลหเตปานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected],[email protected],[email protected]
Subjects: ฮิวริสติกอัลกอริทึม
สายพานลำเลียง
Heuristic algorithms
Conveyor belts
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้ นำเสนอการพัฒนาวิธีฮิวริสติก สำหรับแก้ปัญหาการแก้ไข เปลี่ยนแปลง การจัดสรรสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระขาเข้าประจำวัน เพื่อทดแทนการทำงานในปัจจุบัน ที่ใช้เจ้าหน้าที่ในการพิจารณาจัดสรรสายพานฯ ให้กับเที่ยวบินขาเข้าตลอด 24 ชั่วโมง โดยแบ่งกระบวนการออกเป็น 5 ขั้นตอนหลัก ขั้นตอนแรก เป็นการเตรียมข้อมูล โดยนำเข้าข้อมูลแผนการจัดสรรสายพานฯล่วงหน้าและนำเข้าข้อมูลการบินที่มีเวลามาถึง เป็นรอบ รอบละ 60 นาที เพื่อปรับปรุงข้อมูลการบินตามเวลาที่คาดว่าเที่ยวบินจะเดินทางมาถึง (Estimated Time of Arrival: ETA) ขั้นตอนที่สองเป็นการพิจารณาข้อมูลการบินหลังจากปรับปรุงเวลา ETA แล้วว่ามีการจัดสรรผิดเงื่อนไขในการจัดสรรสายพานฯ หรือไม่ ถ้าพบ จะทำการย้ายเที่ยวบินที่ผิดเงื่อนไข ออกจากสายพานฯ จากนั้นขั้นตอนที่สามเป็นการนำเที่ยวบินที่พบผิดเงื่อนไขมาสร้างเป็นเมทริกซ์ต้นทุนการจัดสรรงาน (Assignment Cost Matrix: ACM) โดยใช้ระยะเวลาที่ซ้อนทับกันเมื่อต้องจัดเที่ยวบินลงในสายพานฯต่างๆ และกำหนดให้มีต้นทุนสูงมากให้กับการจัดสรรที่ผิดเงื่อนไข ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการจัดสรรสายพานฯให้กับเที่ยวบินที่ผิดเงื่อนไข โดยเปรียบเทียบการจัดสรรด้วยวิธีแทรกงาน และวิธีฮังกาเรียน มีดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของการจัดสรรสายพานฯ 3 หัวข้อได้แก่ ต้องจัดสรรสายพานฯให้สอดคล้องกับหลุมจอดอากาศยาน ต้องมีการจัดให้ใช้สายพานฯร่วมกันน้อยที่สุด และต้องมีจำนวนครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงการจัดสรรสายพานฯที่น้อยที่สุด ซึ่งจากการทดสอบจัดสรรสายพานด้วยข้อมูลจริง พบว่า กระบวนการจัดสรรทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพดีกว่าการจัดสรรสายพานฯด้วยเจ้าหน้าที่ โดยทั้งสองวิธีไม่พบกรณีจัดสรรผิดเงื่อนไข และวิธีฮังกาเรียนสามารถลดระยะเวลาทับซ้อนได้มากถึง 39.31% ในขณะที่วิธีแทรกงานสามารถลดระยะเวลาทับซ้อนได้ 29.42% และด้วยระยะเวลาในการประมวลผลที่ไม่สูงมากสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต จึงสรุปได้ว่า วิธีฮิวริสติกที่พัฒนาขึ้งโดยใช้วิธีฮังกาเรียนในการจัดสรรสายพาน มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการแก้ปัญหาการจัดสรรสายพานลำเรียงกระเป๋าสัมภาระขาเข้า
Other Abstract: This thesis proposes to develop a heuristic method to solve problems of the allocation of inbound baggage carousels daily. This is to replace the current work which officers have to allocate inbound baggage carousels by themselves for 24 hours. The process is divided in to five main steps. The first step is to prepare data by input the weekly plan data and real-time data that have ETA in 60 minutes in advance to refresh the Estimated Time of Arrival: ETA. Second is consider whether there is any wrong conditions, if so, the incorrect flight will be removed from the belts. The third step is to create the wrong condition flight to the Assignment Cost Matrix: ACM by using overlapping time when need to allocate baggage carousels and set a very high cost for the fault conditions. The last step is to allocate for the fault condition by applying the Insertion Method and the Hungarian Method which have 3 key performance indices. Including the baggage carousels must be allocated according with the pit aircraft, the allocation must be provide the minimum joint, and requires the minimum number of changing the allocation. The study with the actual data shows that both of developed heuristic methods outperform the current work. In both cases, no fault allocation condition presented. The Hungarian Method reduces overlapping time by 39.31% and the Insertion Method reduces overlapping time by 29.42%. The time process is not long so this is ready for the expansion in the future. The conclusion is that the Hungarian Method is suitable for solve the inbound baggage carousels assignment problem .
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52395
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.146
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.146
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787247120.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.