Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5281
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจในการศึกษาวิชาการพยาบาล ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมสถาบัน และการรับรู้ภาวะสุขภาพ กับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล สถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Relationships between personal factors, study motivation in nursing career, college environment satisefaction, perceived health status, and self-esteem of nursing students, governmental nursing institutes, Bangkok Metropolis |
Authors: | มณฑกานต์ สุ่นปาน |
Advisors: | พวงเพ็ญ ชุณหปราณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | นักศึกษาพยาบาล พยาบาล-- การศึกษาและการสอน ความนับถือตนเอง ความพอใจ สภาพแวดล้อมการทำงาน สุขภาพ Nursing students Nurse -- Study and teaching Self-esteem Satisfaction Work environment Health |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล สถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจในการศึกษาวิชาการพยาบาล ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมสถาบัน และการรับรู้ภาวะสุขภาพ กับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล ตลอดจนศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาบาล ชั้นปี่ที่ 2,3 และ 4 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามแรงจูงใจในการศึกษาวิชาการพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมสถาบัน แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ และแบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยวแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล สถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร เท่ากับ 268.64 คิดเป็นร้อยละ 67.16 ของคะแนนเต็ม (คะแนนเต็ม = 400) โดยนักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง 2. การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมสถาบัน แรงจูงใจในการศึกษาวิชาการพยาบาล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ของนักศึกษาพยาบาลได้ย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความสำคัญตามลำดับดังนี้ การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมสถาบัน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 47.4 (R2=.474) สมการพยากรณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาล ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ z^ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง = .513*Z การรับรู้ภาวะสุขภาพ +.311*Z ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมสถาบัน +.091*Z ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
Other Abstract: | To study self-esteem of nursing students, governmental nursing institutes, Bangkok Metropolis and to investigate the relationships between personal factors, study motivation in nursing career, college environment satisfaction, perceived health stauts, and self-esteem of nursing students, and to search for the variables that could be able to predict self-esteem of nursing students. The subject consisted of 412 nursing students selected by stratified random sampling. Research instruments were study motivation in nursing career, college environment satisfaction, perceived health staus and self-esteem of nursing students questionnaires which were tested for content validity and reliability. Statistical methods used to analyse data included mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. Major findings were as follows: 1. The mean score of self-esteem of nursing students, governmental nursing institutes, Bangkok Metropolis was 268.64 (total score=400), and the percentage accounted for 67.16 of the total score, which was at moderate level. 2. Perceived health status, college environment satisfaction, study motivation in nursing career, and academic achievement were positively and significantly related to self-esteem of nursing students at .05 level. 3 Factors significantly predicted self-esteem of nursing students were percieved health status, college environment staisfaction, and academic achievement, at .05 level. These predictors accounted for 47.4 pecents of the variance. (R2=.474). The function dervies from the analysis was as follow: Z^ESTEEM= .513*ZHEALTH+.311*ZENVSAT+.091*ZGPA. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5281 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.502 |
ISBN: | 9741308485 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.502 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
MontakarnSoon.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.