Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53003
Title: | การศึกษาเชิงเปรียบเทียบการประเมินค่าพารามิเตอร์รูปคลื่นฟ้าผ่าโดยระเบียบวิธีเลเวนเบิร์กมาร์ควอร์ทและวิธีตัวกรองอันเซนท์เททคาลมาน |
Other Titles: | A comparative study on lightning impulse parameter evaluation using levenberg-marquardt algorithm and unscented kalman filter |
Authors: | เอกพล สุริยานุภาพ |
Advisors: | วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ไฟฟ้า--การทดสอบ คลื่นไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า Electric testing Electric waves Electric circuit analysis |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แนวทางในการประเมินรูปคลื่นดลฟ้าผ่าสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน การประเมินพารามิเตอร์ของรูปคลื่นดลฟ้าผ่าโดยอาศัยการปรับรูปโค้ง ตามแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เป็นแนวทางหนึ่งที่มีการใช้งานแพร่หลาย และมีมาตรฐานรองรับ กรรมวิธีที่มีมาก่อนหน้าคือตัวกรองคาลมานขยาย และการปรับรูปโค้งโดยวิธีเลเวนเบิร์ก-มาร์ควอร์ทเป็น 2 วิธีประเมินรูปคลื่นที่สามารถประเมินได้ดีบนโปรแกรมทดสอบรูปคลื่น TDG ซึ่งมีรูปคลื่นที่แตกต่างจากรูปคลื่นที่ทดสอบได้จากหม้อแปลง และเพราะสมการปรับปรุงความแปรปรวนของตัวกรองคาลมานขยายเป็นแบบเชิงเส้น อาจส่งผลให้ความแม่นยำในการประเมินรูปคลื่น ที่ได้จากการทดสอบหม้อแปลงลดลง ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะศึกษาเปรียบเทียบตัวกรองอันเซนท์เท็ทคาลมาน ซึ่งมีการปรับปรุงความแปรปรวนแบบไม่เชิงเส้น กับวิธีเลเวนเบิร์ก-มาร์ควอร์ทซึ่งเป็นกรรมวิธีไม่เชิงเส้นเช่นกัน โดยเริ่มจากการประเมินพารามิเตอร์ของรูปคลื่นที่ได้จากโปรแกรม TDG ก่อนเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของแต่ละวิธี แล้วจึงนำไปประเมินรูปคลื่นดลฟ้าผ่าที่ได้จากหม้อแปลงต่อไป ผลที่ได้จากการทดสอบรูปคลื่นที่ได้จากโปรแกรม TDG พบว่าวิธีเลเวนเบิร์ก-มาร์ควอร์ทสามารถประเมินรูปคลื่นได้ถูกต้องทุกกรณี ในขณะที่ตัวกรองอันเซนท์เท็ทคาลมานจะประเมินได้ดีเฉพาะรูปคลื่นที่ไม่การรบกวนหรือรูปคลื่นเรียบ ซึ่งมีการแกว่งมากกว่า 500 kHz เท่านั้น โดยที่ค่าเริ่มต้นและความผิดพลาดของแบบจำลอง เป็นมูลเหตุสำคัญที่วิธีตัวกรองอันเซนท์เท็ทคาลมานไม่สามารถประเมินได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าการปรับปรุงความแปรปรวนจะเป็นแบบไม่เชิงเส้นก็ตาม ในการทดสอบรูปคลื่นจากหม้อแปลง ซึ่งมีลักษณะการแกว่งบริเวณยอดรุนแรง ตัวกรองอันเซนท์เท็ทคาลมานจึงประเมินได้เฉพาะบริเวณหลังคลื่นเท่านั้น โดยกรรมวิธีจะหยุดดำเนินการเมื่อความแปรปรวนไม่นิยามบวก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อซอฟท์แวร์ทำการคำนวณไประยะหนึ่ง แต่วิธีเลเวนเบิร์ก-มาร์ควอร์ทสามารถประเมินทั้งรูปคลื่นโดยพารามิเตอร์ที่คำนวณได้บางตัวมีค่าไม่ถูกต้อง |
Other Abstract: | There are several ways to evaluate lightning impulse parameters. The one usual way is curve fitting by using mathematical models based on exponential function according to international standard (IEC). The main previous works on curve fitting methodology are the extended kalman filter and levenberg - marquardt method. The both of them are used to evaluate lightning impulse parameters generated from TDG program not from transformer testing and the extended kalman filter variance updating in the process depends upon the state - space linearization. This may cause inaccurate evaluation. This thesis is comparative study on the lightning impulse parameter evaluation using these 2 methods, the unscented kalman filter and levenberg - marquardt method with 2 steps. First, TDG's lightning impulse parameter evaluations have been performed to investigate the 2 method's performance and the next, the lightning impulse parameter evaluations on transformer testing have been executed. The results illustrate that, for TDG test, levenberg - marquardt method can evaluate lightning impulse parameters exactly in every cases but the unscented kalman filter can evaluate exactly only the no noise or smooth curve with oscillation frequency less than 500 kHz cases. The cordial cause is the inaccurate initial values. In transformer lightning impulse parameter evaluation, the levenberg - marquardt method can evaluate the parameters but not accurate, for the unscented kalman filter, It can evaluate some undetermined coefficients of the model but not enough to construct complete curve because of distortion at the front and peak of the curve. The main causes are the error of model and the limitation of initial value determination. Because the oscillation and peak distortion are not noise so the unscented kalman filter cannot dispel them but the filter admit to the process. This makes the unscented kalman filter suffering about covariance matrix indeterminableness when some epochs of iteration have passed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53003 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1396 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1396 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5370668421.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.