Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53010
Title: การกำจัดสารประกอบโพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยเส้นใยนุ่นที่ปรับสภาพด้วยสารลดแรงตึงผิวประจุบวก
Other Titles: Polycyclic aromatic hydrocarbons removal from synthetic wastewater by modifiled kapok fiber with cationic surfactant
Authors: ดิษยา เฟื่องฟู
Advisors: สุธา ขาวเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
นุ่น
Polycyclic aromatic hydrocarbons -- Biodegradation
Kapok
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารประกอบโพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนเป็นสารก่อมะเร็งและเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต สารอินทรีย์ในกลุ่มนี้หากปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติจะส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เช่น ฟลูออรีน (Fluorene) และฟีแนนทริน(Phenanthrene)ที่ก่อให้เกิดเนื้องอกและความผิดปกติอื่นๆ งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการดูดซับสารประกอบโพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนบนเส้นใยนุ่น ที่มีการปรับสภาพเส้นใยด้วยสารลดแรงตึงผิวประจุบวก ได้แก่ โดเดซิลไตรเมทิลแอมโมเนียม โบรไมด์ (DTAB) และโดเดซิลไพริดิเดียม คลอไรด์ (DPC) โดยเลือกฟลูออรีนและฟีแนนทรีนเป็นตัวแทนของสารประกอบโพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เส้นใยนุ่นที่นำมาศึกษาการดูดซับนั้น ได้ผ่านกระบวนการเพิ่มประจุลบบนเส้นใยเพื่อเหนี่ยวนำให้สารลดแรงตึงผิวประจุบวกมาเกาะบนเส้นใยมากขึ้น ผลการวิจัยพบว่า เส้นใยนุ่นเพิ่มประจุลบช่วยให้สารลดแรงตึงผิวประจุบวกดูดซับบนพื้นผิวเส้นใยได้ดียิ่งขึ้น และส่งผลให้ความสามารถในการกำจัดสารประกอบโพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในน้ำเสียสังเคราะห์ของเส้นใยนุ่นเพิ่มมากขึ้น
Other Abstract: PAHs are toxic and carcinogenic to plants, animals and humans. Some PAH compounds such as fluorene and phenanthrene is carcinogenic and mutagenic and can accumulate in aquatic organisms. Because of the toxics of these compounds. In this reserch, the adsorption of cationic surfactant, dodecyl trimethylammonium bromide (DTAB) and dodecyl pyridinium chloride (DPC), onto natural sorbent kapok fibers and the coadsorption process of PAHs, fluorene and phenanthrene, were investigated. Kapok fibers were oxidized by oxidation procedure to increase the amount of negative charge on the fibers and induce the surfactant adsorption. In the cationic surfactants adsorption onto oxidized and non-oxidized kapok fibers, the adsorption isotherm of cationic surfactant was investigated. The results showed that oxidized kapok fibers improved surfactants adsorption and PAHs coadsorption.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53010
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.77
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.77
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
dissaya_fu_front.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
dissaya_fu_ch1.pdf618.98 kBAdobe PDFView/Open
dissaya_fu_ch2.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open
dissaya_fu_ch3.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
dissaya_fu_ch4.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
dissaya_fu_ch5.pdf677.48 kBAdobe PDFView/Open
dissaya_fu_back.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.