Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53286
Title: การวิเคราะห์ธรณีสัณฐานจากบริเวณกวัดแกว่งของแม่น้ำน่าน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
Other Titles: Geomorphic analysis from meandering zone of Nan river, Amphoe Pua, Changwat Nan
Authors: ฉัตรแก้ว เพ็ญศิริ
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: แม่น้ำน่าน
ธรณีสัณฐาน -- ไทย -- น่าน
Nan river
Landforms -- Thailand -- Nan
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แม่น้ำปัวเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำน่านซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญในภาคเหนือ ที่มีชนิดธรณีสัณฐานของแม่น้ำ ที่น่าสนใจและชัดเจนเป็นอย่างมาก โดยมีวิวัฒนาการอยู่ในบริเวณแอ่งที่ราบระหว่างเขา งานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการแปลภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อศึกษาชนิดธรณีสัณฐานในพื้นที่ศึกษา และกำหนดตำแหน่งในการออกภาคสนามเพื่อศึกษาสภาพและขนาดร่องน้ำในพื้นที่ โดยทำการวัดความลึกของร่องน้ำแต่ละจุดศึกษา และนำข้อมูลความลึกที่ได้ มาสร้างภาพตัดขวางของร่องน้ำ เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะของร่องน้ำ จากผลการศึกษา สามารถแบ่งชนิดธรณีสัณฐานในพื้นที่ศึกษาได้ 16 หน่วย ได้แก่ ชุดหิน (Rock unit) ลานตะพักลำน้ำ (Terrace) ขั้นที่ 1 ลานตะพักลำน้ำ (Terrace) ขั้นที่ 2 ลานตะพักลำน้ำ (Terrace) ขั้นที่ 3 ตะกอนน้ำพารูปพัดยุคใหม่ (Modern alluvial fan) ตะกอนเชิงเขา (Colluvium) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Floodplain) สันดอนทราย (Point bar) สันดอนทรายเก่า (Paleo-point bar) ขั้น 1 สันดอนทรายเก่า (Paleo-point bar) ขั้น 2 สันดอนทรายเก่า (Paleo-point bar) ขั้น3 ทะเลสาบรูปแอก (Oxlbow lake) ร่องรอยทางน้ำเก่า (Meandered scar) แม่น้ำปัจจุบัน (River channel) แม่น้ำเก่า (Paleochannel) แม่น้ำสายรอง (Intermitten stream) และจากศึกษาภาพตัดขวางร่องน้ำพบว่า ขนาดตะกอนในร่องน้ำ ลดลงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ความกว้างของร่องน้ำเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พื้นที่ที่ราบน้ำท่วมถึงลดลงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ แม่น้ำในพื้นที่ศึกษามีค่า Sinuosity ratio = 1.86 ซึ่งมีรูปแบบเป็นแม่น้ำแบบโค้งตวัด (Meander river) และมีรูปร่างร่องน้ำแบบไม่สมมาตร (asymmetry) โดยมีตำแหน่งร่องน้ำลึก (thalweg) อยู่ทางด้านซ้ายของแม่น้ำจากต้นน้ำไปยังปลายน้ำ
Other Abstract: The Pua River is a branch of the Nan River, one of the important fluvial systems in the northern Thailand. The Pua River itself shows distinctive fluvial landforms which its evolution occurs within narrow intermountain basin. The main purpose of this research is to characterize the types of landforms along the Pua River and part of the Nan River. We first interpreted aerial photographs and satellite images to indentify the landforms. In the field, we measured the dimension of the Pua River in terms of channel width and depth. The cross-section of channel from each of measured locality was analyzed. As a result, we mapped the geomorphological units of the area into 16 units, including 1st terrace, 2nd terrace, 3rd terrace, modern alluvial fan, colluvium, floodplain, point bar, 1st paleo-point bar, 2nd paleo-point bar, 3rd paleo-point bar, oxbow lake, meandered scar, recent channel, paleo-channel, intermittent stream and rock area. The cross-section across channels exhibits that average grain size of bedload sediments within channels and channel width are decreasing from upstream to downstream. In contrast, floodplain area decreases from downstream to upstream. The sinuosity ratio of the Pua River is 1.86 which implies that the evolution of the river is recently in “meandering” stage. The river profile is generally asymmetrical shape with thalweg mainly locates in the left side of the river.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53286
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Report_Chatkaew Phensiri.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.