Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53293
Title: การดูดซับและการจำลองการเคลื่อนตัวของสารหนูผ่านดินที่มีการเปลี่ยนแปลงความชื่นใต้บริเวณหลุมกลบขยะมูลฝอยชุมชน บริเวณอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Sorption and modeling transport of arsenic through variably saturated zone underneath the sanitary landfill, Amphoe Srirach Changwat Chonburi
Authors: มัชฌิมา เนติโกวิท
Advisors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สารหนู
หลุมฝังกลบขยะ -- ไทย -- ชลบุรี
ดิน -- ปริมาณสารหนู
Arsenic
Sanitary landfills -- Thailand -- Chonburi
Soils -- Arsenic content
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นทุกปีโดยมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ1.2 ต่อ ปี การฝังกลบเป็นวิธีที่นิยมในการกำจัดขยะจึงอาจก่อให้เกิดปัญหาการซึมของน้ำชะขยะออกสู่พื้นที่รอบหลุมฝังกลบขยะซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำใต้ดินได้ โดยงานวิจัยนี้ทำการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก คือการทดลองเพื่อทราบคุณสมบัติของดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ (ลักษณะเนื้อดิน, ปริมาณอินทรียวัตถุ, สมบัติทางชลศาสตร์ และกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความชื้นในดินกับความดันของน้ำในดิน) และส่วนที่ 2 คือการทดลองแบบแบทต์ (batch experiment) เพื่อทราบสมบัติในการดูดติดผิวของโลหะหนัก ส่วนที่ 1 ได้ทดลองโดยใช้เครื่อง Pressure chamber เพื่อหาความสัมพันธ์ของความชื้นในดิน (Ɵ) กับความดันของน้ำในดิน ( (soil water characteristic curve) พบว่าสมการของ van Genuchten (VG)อธิบายความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ดีกว่าสมการของ Brooks และ Corey (BC) โดยพบว่าค่า มีค่าอยู่ในช่วง 0.02972 ถึง 0.19320, มีค่าอยู่ในช่วง 0.22801 ถึง 0.29802, α มีค่าอยู่ในช่วง 0.00887 ถึง 0.42066 และ n อยู่ในช่วง 1.0918 ถึง 1.955 และจากการทดลองหาลักษณะของเนื้อดินพบว่าดินทั้ง 8 ตัวอย่างมีเนื้อดินเป็นทรายโดยจากกราฟการคละขนาดของตะกอนทำให้แยกดินออกเป็น 2 กลุ่มเนื่องจากพบว่าเส้นโค้งมีความแตกต่างกันพอสมควร และในส่วนที่ 2 คือการทดลองแบบแบทต์เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับของดินทั้ง 2 กลุ่มซึ่งพบว่าสมการที่เหมาะสมคือสมการของแลงเมียร์ และสมการของลิเนียร์ ตามลำดับค่าตัวแปรที่ได้จากสมการแบบแลงเมียร์คือ = 1.0193 และ b = 0.0464 และค่าตัวแปรที่ได้จากสมการแบบลิเนียร์ คือ = 0.0248 และจากแบบจำลองการเคลื่อนตัวของสารหนูด้วยโปรแกรมทางคณิตศาสตร์ Hydrus-1D ของดินทั้ง 2 กลุ่มในดินในระยะเวลา 1 ปี พบว่าสารหนู (V)เคลื่อนที่ได้เป็นระยะทางประมาณ 3 เซนติเมตร โดยพบปริมาณความเข้มข้นของสารหนู (V)ในดินกลุ่มที่ 1 และ 2 คือ 130 µg/L และ 170 µg/L ตามลำดับซึ่งเกินค่ามาตรฐานของน้ำบาดาลโดยไม่ควรเกิน 10µg/L
Other Abstract: Huge amounts of solid wastes in Thailand have long been increased. The average rate, tend to be increased about 1.2 percent per year. Landfill is the conventional method of waste elimination but this way may consequently cause contamination to soil and groundwater. This research was divided into 2 experiments, the first part focused on characterize of the physio-chemical properties (i.e., soil texture, organic matter, hydraulic properties, soil water characteristic curves) and the second part was batch experiments concerning about sorption behavior of soils. The first experiments were used pressure chamber to explore the relationship between water content (Ɵ) and suction pressure head or described to soil water characteristic curve (SWCC). It found that van Genuchen (VG) could explain the soil water characteristic behavior quite better than Brooks and Corey (BC) with high correlation coefficient (R2). According to previous experiments, the results showed that is in range 0.02972 to 0.10320, is in range 0.22801 to 0.29802, α is in range 0.00887 to 0.42066 and n is in range 1.0918 to 1.955. The result derived from sieve analysis and pipette analysis test revealed that soil texture of eight soil samples is sand and they can be divided into 2 groups according to moderately differences of grain size distribution curves. The second experiments, sorption results of 2 groups were fitted well by Langmair and Linear isotherm, respectively. The Langmair parameters of first group showed that and b were 1.0193 and 0.0464, respectively. The Linear parameters of second group showed that was 0.0248. Finally, simulation of arsenic (V) movement with Hydrus-1D model through 2 these soil types within 1 year have been carried out. Result of this program showed that arsenic moved to a distance of approximately 3 centimeters. Both estimated concentration of arsenic (V) in the first group and the second group were 130 µg/L and 170 µg/L, over standard concentration according to Groundwater standard (WHO) (10µg/L)
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53293
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Majchima Netikowit.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.