Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53355
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีเลิศ โชติพันธรัตน์-
dc.contributor.authorอนพัช มีมั่งคั่ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialแก่งคอย-
dc.coverage.spatialสระบุรี-
dc.date.accessioned2017-09-27T06:54:53Z-
dc.date.available2017-09-27T06:54:53Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53355-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการประเมินศักยภาพแหล่งน้ำบาดาลของพื้นที่บริเวณอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยใช้เทคนิคทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจัดทำแผนที่ศักยภาพน้ำบาดาล และประเมินอิทธิพลของปัจจัยด้านอุทกวิทยา 8 ชนิด ที่มีผลต่อการเกิดและการกักเก็บน้ำบาดาล ได้แก่ ชนิดหิน ลักษณะธรณีสัณฐาน ความลาดชัน ระดับความสูงของพื้นที่ ชนิดดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความหนาแน่นของโครงสร้างเชิงเส้น และความหนาแน่นของทางน้ำ วิธีการที่ใช้วิเคราะห์มี 2 วิธี ประกอบด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักและวิธีสัดส่วนความถี่ของความเป็นไปได้ในการเกิดน้ำบาดาล โดยวิธีการถ่วงน้ำหนักเป็นการกำหนดค่าน้ำหนักให้กับแต่ละชนิดปัจจัย แล้วนำมาซ้อนทับกันโดยใช้ ArcGIS 9.3 เพื่อจัดทำแผนที่ศักยภาพน้ำบาดาล จากนั้นตรวจสอบความถูกต้องระหว่างระดับศักยภาพกับค่าปริมาณน้ำจำเพาะเฉลี่ยของบ่อบาดาล ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 86.3 ส่วนวิธีสัดส่วนความถี่ของความเป็นไปได้ในการเกิดน้ำบาดาลเป็นการนำข้อมูลบ่อบาดาลที่มีค่าปริมาณน้ำจำเพาะมากกว่า 0.18 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงต่อเมตรมาแบ่งแบบสุ่มออกเป็น 2 ชุด เป็นชุดทดสอบร้อยละ 70 (23 บ่อ) และชุดตรวจสอบความถูกต้องร้อยละ 30 (10 บ่อ) นำบ่อบาดาลชุดทดสอบมาหาสัดส่วนความถี่กับแต่ละชนิดปัจจัยเพื่อนำค่าสัดส่วนความถี่มาสร้างเป็นแผนที่ศักยภาพด้วยคำสั่ง Overlay (Weighted sum) แล้วตรวจสอบความถูกต้องจากพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ พบว่าได้ค่าความถูกต้องร้อยละ 34.3 ดังนั้น วิธีการถ่วงน้ำหนักจึงเป็นวิธีที่มีความเหมาะสมและความน่าเชื่อถือมากกว่าในการประเมินพื้นที่ศักยภาพน้ำบาดาล พื้นที่ศักยภาพน้ำบาดาลมีทั้งหมด 5 ระดับ โดยพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงเป็นบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ศึกษาประมาณร้อยละ 26 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพน้ำบาดาลมากที่สุดคือ ชนิดหินen_US
dc.description.abstractalternativeThe aim of this study is to evaluate groundwater potential in Kaeng Khoi district, Saraburi province using geographic information technique in order to create the groundwater potential map and evaluate the 8 influencing hydrological factors affecting potential of groundwater occurrence and storage, which are, lithology, geomorphology, slope, elevation, soil type, land use, lineament density, and drainage density. Two methods, weighting model and probabilistic-based frequency ratio, were carried out to evaluate the groundwater potential and then quantitatively compared in term of groundwater specific capacity obtained from Department of Groundwater Resources (DGR). The weighting model was to assign weight and score then overlaid using ArcGIS 9.3 to create groundwater potential map. The groundwater potential map was validated with average of groundwater specific capacity and showed correlation coefficient of 86.3%. The probabilistic-based frequency ratio method then was to use groundwater wells with high potential specific capacity values of ≥0.18 m3/hr/m. Two groups of groundwater wells: 1) 70 percent (23 wells) and 2) 30 percent (10 wells), were randomly selected for training and validation purposes. By calculation of the frequency ratio, area percentage of each factor divided by training dataset percentage, then overlaid using Overlay (Weighted sum) function. The validation result showed prediction accuracy of 34.3%. As a result, the weighting model showed more suitable and reliable in predicting the groundwater potential. According to the weighting model, five potential zones were classified with very high potential zone covering flood plain area about 26%. The main factor that control potential zones is lithology.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1398-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำบาดาลen_US
dc.subjectน้ำบาดาล -- แก่งคอย (สระบุรี)en_US
dc.subjectGroundwateren_US
dc.subjectGroundwater -- Thailand -- Kaeng Khoi (Saraburi)en_US
dc.titleศักยภาพแหล่งน้ำบาดาลบริเวณอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีen_US
dc.title.alternativeGroundwater potential in Amphoe Kaeng khoi, Changwat Saraburien_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1398-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5432739223_อนพัช มีมั่งคั่ง.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.