Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53451
Title: การศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of youths' participation behaviors in interactive educational television programs in Bangkok Metropolis
Authors: สุรีย์พร บุญสมภาร
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: รายการโทรทัศน์
โทรทัศน์เพื่อการศึกษา
เยาวชน -- ทัศนคติ
พฤติกรรมข่าวสาร
Television programs
Television in education
Youth -- Attitude
Information behavior
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชม การมีส่วนร่วม ความคิดเห็นและทัศนคติของเยาวชนต่อรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบ และทิศทางในอนาคตของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารกับรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุ 11 – 24 ปี จำนวน 403 คน และผู้ผลิตรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร และแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ และการทดสอบค่า Phi, t-test และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับชมรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบน้อยกว่า 3.ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเปิดรับชมรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบแบบเปิดสลับไปมากับรายการอื่น รูปแบบรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบที่เปิดรับชมบ่อยที่สุด คือ รายการละคร รองลงมา คือ รายการเกมโชว์ และรายการข่าว ตามลำดับ 2.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการใช้สื่อ ได้แก่ โทรศัพท์บ้านหรือพีซีที และโทรศัพท์มือถือ ในการโหวตหรือส่งข้อความ และการโหวตผ่านอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าเดือนละครั้ง แต่สำหรับการใช้สื่ออีเมล และการส่ง SMS เพื่อโหวต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีส่วนร่วม เดือนละ 1-3 ครั้ง และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีส่วนร่วมกับรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบประเภทรายการข่าว เนื่องจากต้องการแสดงความคิดเห็น รายการเกมโชว์และสารคดี เนื่องจากต้องการความรู้เพิ่มเติม 3. เยาวชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันในด้าน เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าโทรศัพท์บ้านหรือพีซีทีแตกต่างกันมีความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อที่ใช้ในการมีส่วนร่วมในรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความคิดเห็นในเรื่องจุดประสงค์การมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 ในเรื่องการสนทนา แสดงความคิดเห็น สมัครเข้าร่วมรายการ ฝากคำถาม ส่งคลิปวีดีโอ ร้องทุกข์ และไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในจุดประสงค์การมีส่วนร่วมเรื่องการชิงเงินหรือของรางวัล การให้คะแนน และตอบคำถามหรือเล่นเกม กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าโทรศัพท์บ้านหรือพีซีทีต่างกันมีทัศนคติในการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้ผลิตรายการเลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารกับรายการโทรทัศน์การศึกษาเชิงโต้ตอบจากความสะดวก ความถนัดและวัยของกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณของผู้ชม และการสื่อสารทุกช่องทาง เพื่อสื่อสารผู้ชมได้อย่างทั่วถึง
Other Abstract: The purposes of this research were to study youth’s exposure, behaviors, and attitude in educational interactive television and to study the trend of using communication technology in educational interactive television. The samples were 403 youths aged between 11-24 years old in Bangkok metropolis and 9 producers of educational interactive television programs. Data were collected by questionnaires and structured interview form and content analysis were used to analyze qualitative data. The statistics used to analyze data were frequency, percentage, Phi, t-test, and ANOVA. The research of this research were as follows: 1.The sample exposed educational interactive television less than 3 times per week and mostly switched the program and others in the same time. Drama was the most frequency exposed type of educational interactive television; the others were game show and news. 2.Most of the sample used home telephones or PCTs and mobile phones for voting or texting message and voting via internet less than once a month. While using email and SMS for voting, they participated 1-3 times a month. Most of them participated in news programs for expressing their opinion, and participated in game show and documentary programs for inquiring more knowledge. 3.There were no any difference found in youth’s opinion in participation approach to educational interactive television with statistically significant at .05 level classified by gender, age, income, level of education, mobile phone expense, and home telephone expense. The sample with difference background had difference purposes of participation in chatting, expressing opinion, registering to the program, leaving questions, sending video clip, and complaining with statistically significant at .05 level. There was no difference found in the purposes of participation in contesting for the money or award and answering the questions or playing a game. The sample who had difference background except gender had difference attitude of participation in educational interactive television with statistically significant at .05 level. 4.Producers of educational interactive programs selected communication technologies by considering on comfortable and appropriate of audience budget and the open channels for all audiences.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53451
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.840
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.840
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sureepom_bo_front.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
sureepom_bo_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
sureepom_bo_ch2.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
sureepom_bo_ch3.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
sureepom_bo_ch4.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open
sureepom_bo_ch5.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
sureepom_bo_back.pdf44.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.