Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53613
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนตรี ชูวงษ์-
dc.contributor.authorณัฐวัฒน์ อนุพงศ์ไพบูลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialนครศรีธรรมราช-
dc.date.accessioned2017-10-27T11:28:54Z-
dc.date.available2017-10-27T11:28:54Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53613-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552en_US
dc.description.abstractแหลมตะลุมพุกเป็นแนวชายฝั่งตอนเหนือสุดของอำเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยตัวแหลมได้แสดงถึงวิวัฒนาการการสะสมตัวเป็นธรณีสัณฐานชนิดสันดอนจงอย (sand spit) ที่มีระยะเวลาในการสะสมตัวยาวนาน พื้นที่ปลายแหลมได้งอกเพิ่มขึ้นไปทางทิศเหนือสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของการสะสมตัวจากกระแสน้ำเรียบชายฝั่ง (longshore current) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีข่าวว่า แหลมตะลุมพุกกำลังประสบปัญหาการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งอย่างรุนแรง และพื้นที่แหลมตะลุมพุกจะหายไปในอนาคตอีกประมาณ 20 ปี ข้างหน้า ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นในทางกายภาพ โครงการนี้ได้ตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่งบริเวณปลายแหลมตะลุมพุก โดยใช้การเปรียบเทียบเชิงพื้นที่จาก ภาพแผนที่ภูมิประเทศปี พ.ศ. 2516 เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2543 และภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ. 2542 เปรียบกับภาพดาวเทียมปี พ.ศ. 2550 และพ.ศ. 2551 รวมถึงศึกษาสมบัติตะกอนปัจจุบันเพื่อให้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาเชิงเปรียบเทียบที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต ผลการเปรียบเทียบเชิงพื้นที่จากแผนที่ภูมิประเทศ ภาพถ่ายทางอากาศและภาพดาวเทียม พบว่า (1) ในปี พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2542 บริเวณแหลมตะลุมพุก มีการสะสมตัว 13.19 ตารางกิโลเมตร และมีการสูญเสียพื้นที่ 0.208 ตารางกิโลเมตร (2) ในช่วงปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2543 มีการสมสมตัว 0.356 ตารางกิโลเมตร และมีการสูญเสียพื้นที่ 0.480 ตารางกิโลเมตร (3) ในระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2550 (คำนวณเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันออกที่ติดกับทะเล) มีการสะสมตัว 0.373 ตารางกิโลเมตร และมีการสูญเสียพื้นที่ 0.173 ตารางกิโลเมตร และ (4) ระหว่าง ปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2551 (คำนวณเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่บริเวณปลายแหลม) มีการสะสมตัว 0.173 ตารางกิโลเมตร และมีการสูญเสียพื้นที่ 0.082 ตารางกิโลเมตร ผลการวิเคราะห์เชิงพื้นที่พบว่า แหลมตะลุมพุก ซึ่งเป็นธรณีสัณฐานชนิดสันดอนจงอย (sand spit) มีทิศทางการพอกตัวเพิ่มขึ้นบริเวณปลายจงอยอย่างต่อเนื่อง ลักษณะทางตะกอนวิทยาพบว่าการสะสมตัวเป็นไปด้วยกระแสน้ำทะเลเรียบชายฝั่งในทิศทางประมาณใต้ขึ้นไปทิศเหนือซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการทำให้ตะกอนมีการเคลื่อนตัว และจากตัวเลขการคำนวณเชิงพื้นที่พบว่าการสะสมตัวกับการสูญเสียตะกอนไม่ต่างกันมากนัก แสดงถึงชายฝั่งที่อยู่ในภาวะเกือบสมดุลen_US
dc.description.abstractalternativeThe Talumpuk Cape is located at the northernmost part of Changwat Nakhon Si Thammarat coastal area. The cape itself shows long-term evolution as sand spit growing to the north along northwardly longshore current. However, severe erosion of the cape has been repeatedly reported from many researchers and organization. Some claimed that the cape will disappear in about 20 years from now. We, then, set up our methodology for the project to cover all analysis we aimed. They include aerial photographs, satellite images interpretation. A series of diverse array of both air-photos and satellite images and topographic maps is applied to analyze the change of coastline through times. Detail field survey of topographic variation of sand spit will also be conducted in order to understand vertical geomorphic conditions of spit. As a result, spatial comparison of topographic maps, aerial photographs and satellite images showed that (1) in the year 1973 to 1999 the area has accumulated 13.19 square kilometers and lost of 0.208 square km in area (2) during year 1999 to 2000 have accumulated a 0.356 square kilometers and lost of 0.480 square km in area (3) during the years 2000 to 2007(calculated only change the eastern coastal area close to the sea) has accumulated a 0.373 square kilometers and lost of 0.173 square kilometers area, and (4) between the years 2007 BC to 2008 (calculated only sand spit in the north part) with a cumulative 0.173 square kilometers and lost of 0.082 square kilometers area. Results showed that the Talumpuk Cape being developed as sand spit growing to the north along northwardly current. Sediment analysis revealed that the sediments have accumulated to the coastal plain by the longshore currents in the direction approximately south to north, which is an important mechanism to allow sediment movement alongshore. The number of spatial calculations in area accretion and erosion showed that the cumulative loss to the sediments show less significant and can be concluded that this area showed long-term equilibrium.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่งen_US
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย -- นครศรีธรรมราชen_US
dc.subjectแหลมตะลุมพุก (นครศรีธรรมราช)en_US
dc.subjectCoastal geomorphologyen_US
dc.subjectCoast changes -- Thailand -- Nakhon Si Thammaraten_US
dc.subjectTalumpuk Cape (Nakhon Si Thammarat)en_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงลักษณะธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่ง บริเวณแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราชen_US
dc.title.alternativeCoastal geomophological changes at Talumpuk cape Changwat Nakhon Si Thammaraten_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattawat_full report.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.