Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54845
Title: | การคัดกรองภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยในผู้ที่มารับการรักษาทางทันตกรรม |
Other Titles: | Screening undiagnosed dysglycemia in dental patients |
Authors: | ชนิตา ตันติพจน์ |
Advisors: | นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล สิริบังอร พิบูลนิยม โขวิฑูรกิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected],[email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ กับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ที่มารับการรักษาทันตกรรม และศึกษาทัศนคติของผู้ป่วยและทันตแพทย์ต่อการคัดกรองโรคเบาหวานในคลินิกทันตกรรม การศึกษาส่วนที่หนึ่งซึ่งเป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการรักษาทันตกรรมที่คลินิกพิเศษ คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ออกปฏิบัติงานในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อน โดยกำหนดเกณฑ์ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ HbA1c ≥ 5.7% โดยประเมิน HbA1c ด้วยการตรวจเลือดจากหยดเลือดปลายนิ้ว และวิเคราะห์ผลด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบ Point of Care Testing (PCOT) ผลการศึกษาในผู้ป่วยทันตกรรม 724 คน พบความชุกภาวะน้ำตาลในเลือดสูงถึงร้อยละ 33.8 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติสมการถดถอยพหุคูณพบว่า อายุ ระดับการศึกษา ประวัติการมีสมาชิกครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ดัชนีมวลกาย ภาวะอ้วนลงพุง การมีสภาวะปริทันต์อักเสบในระดับรุนแรง และการมีปริมาณเชื้อ Lactobacilli ในระดับสูงมาก เป็นปัจจัยเสี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การศึกษาส่วนที่สองเป็นการศึกษาทัศนคติของผู้ป่วยและทันตแพทย์ต่อการคัดกรองโรคเบาหวานในคลินิกทันตกรรม ทำการศึกษาโดยสร้างแบบสอบถามสำหรับผู้ป่วยและทันตแพทย์ต่อการคัดกรองโรคเบาหวานในคลินิกทันตกรรม ซึ่งเป็นข้อคำถามที่มีระดับการให้คะแนน 5 ระดับ โดยแบบสอบถามถูกแจกให้กับผู้ป่วยที่มารับการรักษาทันตกรรมที่คลินิกทันตกรรมที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และทันตแพทย์ที่ยังคงประกอบวิชาชีพทันตแพทย์อยู่ในปัจจุบัน ผลการศึกษาในผู้ป่วย 601 คน และทันตแพทย์ 632 คน พบว่าทั้งผู้ป่วยและทันตแพทย์ส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นว่าการคัดกรองโรคเบาหวานในคลินิกทันตกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยปัจจัยที่ถูกระบุว่าเป็นอุปสรรคในกลุ่มผู้ป่วยได้แก่ การเก็บผลการตรวจคัดกรองเป็นความลับส่วนบุคคล ในขณะที่ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ระบุว่าความเต็มใจของผู้ป่วยเป็นอุปสรรคที่มีความสำคัญ และพบว่าทันตแพทย์น้อยกว่าครึ่งระบุว่ามีความพร้อมและความรู้ในการคัดกรองโรคเบาหวานในคลินิกทันตกรรม สรุป ควรจัดให้มีการคัดกรองโรคเบาหวานในคลินิกทันตกรรมในประเทศไทยเนื่องจากพบความชุกของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ อีกทั้ง ทั้งผู้ป่วยและทันตแพทย์ต่างก็มีทัศนคติที่ดีต่อการคัดกรองโรคเบาหวานในคลินิกทันตกรรม |
Other Abstract: | The objectives of this study were to assess the prevalence of undiagnosed dysglycemia (including potential prediabetes and diabetes) and its associated risk factors in Thai dental patients and to determine the attitude of both patients and dentists toward chairside screening for diabetes mellitus in dental clinics. The first part of the study, two groups of dental patients who had not been informed that they have diabetes were recruited from the Special Clinic, Faculty of Dentistry, Mahidol University, Bangkok and His Majesty the King’s Dental Service Unit. Dysglycemia was diagnosed when the HbA1c was ≥ 5.7%. HbA1c was assessed using a finger blood sample and analyzed with Point of Care Testing (PCOT) machine. It was found that among 724 participants recruited, the prevalence of dysglycemia was 33.8%. Multivariate logistic regression analysis revealed that older age group, family history of diabetes, high BMI, central obesity, severe periodontitis and very high level of Lactobacilli were significantly and positively associated with dysglycemia. The second part of the study, the anonymous, self- administered questionnaires of five-point response scale questions were distributed to adult patients attending dental clinics and dentists who were current in practicing in dental settings in Thailand. Overall, among 601 patients and 632 dentists participated in the study, the majority of respondents in both groups felt that it was important to have a dentist conduct a screening. Among the potential barrier specified, respondents from patient group felt that the most important barrier was confidentiality while the dentist group reported patients’ willingness. Less than half of dentists reported that they have readiness and knowledge to perform activities related to diabetes screening. In summary, the screening of undiagnosed diabetes should be performed in Thai dental settings because high prevalence of dysglycemia was found in this study and the majority of participants in both patient and dentist groups supported the screening of dysglycemia in dental settings. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54845 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.227 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.227 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5474906630.pdf | 8.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.