Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54882
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชน |
Other Titles: | A DEVELOPMENT OF MANAGEMENT MODEL OF THAI PUAN COMMUNITY BASED CULTURAL TOURISM |
Authors: | ชมพูนุท ภาณุภาส |
Advisors: | สมบัติ กาญจนกิจ เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected],[email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการ ปัญหาในการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการทำรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชนของประชาชนในชุมชนไทยพวน จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชนไทยพวน จังหวัดสุพรรณบุรี และ 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี การดำเนินงานมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการวินิจฉัย (Diagnosis) ข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการปฏิบัติการ (Action) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนไทยพวน ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการวัดผล (Measurement) ของรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชน และขั้นตอนที่ 4 ขั้นการศึกษาผลสะท้อนที่เกิดขึ้น (Reflection) ของรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชน ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชนได้รูปแบบซึ่งมี 6 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ ชุมชนไทยพวนมีประวัติความเป็นมาและอัตลักษณ์ของวัฒนธรรม และมีประเพณีกำฟ้าซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านที่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาต่อยอดการพัฒนายุวมัคคุเทศก์ที่ได้ดำเนินการอยู่ให้เกิดความต่อเนื่อง 2) กระบวนการ (Process) คือ การนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมาเป็นหลักในการดำเนินการ และรวมทั้งนำหลักแนวคิดการจัดการเชิงระบบ มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนารูปแบบฯ สู่แผนพัฒนาของหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวให้เกิดอย่างต่อเนื่องในชุมชน 3) ผลผลิต (Output) คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการพัฒนารูปแบบ ฯ โดยสร้างกลุ่มคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวของชุมชน และสร้างเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนทั้งทางบกและทางน้ำ และโปรแกรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนแบบค้างคืน และส่งเสริมพัฒนาการสร้างมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและยุวมัคคุเทศก์ในชุมชน และผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบของเอกสารและข้อมูลนำเสนอในสื่อสังคมออนไลน์ 4) ผลลัพธ์ (Outcome) คือ ชุมชนไทยพวน จ.สุพรรณบุรี เกิดความเข้มแข็งโดยมีรูปแบบ ฯ ไปใช้ได้จริงและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน 5) ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) คือ คนในชุมชนต้องคำนึงถึงผลที่จะได้รับที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาสู่การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนอย่างต่อเนื่อง 6) ปัจจัยภายนอก คือ ชุมชนควรคำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวน ได้แก่ ปัจจัยทางการเมือง (Politics) สังคม (Socials) เศรษฐกิจ (Economics) และเทคโนโลยี (Technology) เพื่อสนองต่อนโยบายการบริหารจัดการของท้องถิ่น ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในชุมชนไทยพวน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้จากการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชน มาจากการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกระดับ โดยยึดหลักความต้องการของคนในชุมชน เป็นการกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรม โดยใช้การท่องเที่ยวในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชน ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาประชาสังคมท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้เกิดความยั่งยืน |
Other Abstract: | This is a mixed method research which was aimed 1) to examine the management and its problems of Thai - Puan community based cultural tourism in Suphanburi province, 2) to study the community needs for the Thai - Puan cultural tourism management, 3) to study tourist satisfaction and needs in the Thai - Puan cultural tourism, and 4) to develop a model of the Thai - Puan community based cultural tourism management. In this study, there were 4 phases: Phase 1 of Diagnosis--diagnosis of related data and information, Phase 2 of Action—action of the Thai – Puan participation, Phase 3 of Measurement—measurement of the model of the Thai - Puan cultural tourism management, and Phase 4 of Reflection-- reflection of the model of the Thai - Puan community based cultural tourism management. The model resulting from the development of the Thai - Puan community based cultural tourism management was the one consisting of 6 primary elements: 1) Input--that the Thai – Puan community has its own unique history and culture especially the Kam Fa tradition which has been adjusted according to socioeconomic conditions and in the community, the Project of Young Tourist Guide Development is continuously carried out; 2) Process –that implementing a participatory action research process into action; Including the concept of systematic management become a model development tool to the development plan of the local authorities to the relevant agencies and to promote and support tourism in the community ; 3) Output-- that the outputs resulting from the model of the Thai - Puan community based cultural tourism management were a structure of the community tourism working group, the Thai - Puan cultural tourism land and water routes, an overnight Thai - Puen cultural tourism program (homestay), local tour guides, printed matters and online information on the Thai - Puan cultural tourism; 4) Outcome--that the Thai – Puan communities in Suphanburi province have been strengthened resulting from the practical and sustainable model of the Thai - Puan community based cultural tourism; 5) Feedback --that people in the community must take into account of the results that will be and to further improve the management of Thai tourism culture; 6) External Factors --that people in the community must take into account of both the positive and negative impacts on the Thai - Puan cultural tourism management including political, social, economic and technological factors of local policies and administrations. From this study, it can be concluded that the success in Thai - Puan communities in Bang Pla Ma District, Suphanburi Province, that resulted from the development of the Thai - Puan community based cultural tourism management model, comes from the involvement and is based on the needs of all people in the communities, in order to stimulate people’s awareness of the importance of cultural preservation by using tourism to drive community development. This resulted in a sharing of community learning as well as the development of quality of life, local civil society, and the sustainable cultural tourism. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54882 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.794 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.794 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5578603239.pdf | 16.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.