Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54889
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการอ่านจากต้นแบบและกลวิธีผังสัมพันธ์ของความหมายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON READING APPRENTICESHIP APPROACH AND SEMANTIC MAPPING STRATEGY FOR ENHANCING ANALYTICAL READING ABILITY OF UNDERGRADUATE STUDENTS |
Authors: | ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์ |
Advisors: | วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า อัมพร ม้าคนอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | การอ่านขั้นอุดมศึกษา การอ่าน การอ่านตีความ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Reading Reading (Higher education) Oral interpretation |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการอ่านจากต้นแบบกับกลวิธีผังความสัมพันธ์ของความหมายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา และเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับปัญหาในสภาพจริง และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และเกณฑ์การประเมินแบบบันทึกผลการอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อน ระหว่าง และหลังการทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลจากแบบบันทึกผลการอ่านของผู้เรียนและบันทึกการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมีหลักการ 4 ประการ คือ 1) การเรียนรู้กลวิธีการอ่านจากต้นแบบและเชื่อมโยงประสบการณ์และความรู้เดิมเกี่ยวกับบทอ่าน 2) การเรียนรู้บทอ่านจากการเชื่อมโยงประสบการณ์ความรู้เดิมกับคำศัพท์ สำนวน และข้อความสำคัญ 3) การระบุและขยายความรู้จากการอ่าน 4) การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินการอ่านโดยแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเรียนรู้และฝึกอ่านตามต้นแบบ ขั้นที่ 2 ขั้นอ่านและเชื่อมโยงความหมาย ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอ่าน การวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ดำเนินการก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอน 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยขององค์ประกอบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ พบว่า ด้านการวิเคราะห์ส่วนประกอบงานเขียนและการแสดงความคิดเห็นสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการตีความสูงกว่าก่อนการทดลอง แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยพัฒนาการความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของผู้เรียน 4 ระยะของการทดลองสูงขึ้นตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | This study was a research and development. The purposes of this study were to, develop an instructional model based on reading apprenticeship approach and semantic mapping strategy; and evaluate the efficiency of the instructional model. The research procedure was divided into phases; 1) development of an instructional model based on real problem; and 2) effectiveness evaluation of an instructional model through implementation with the subjects who were thirty undergraduate students. The duration of experiment was one semester. The research instrument were analytical reading test and reading log’s scoring criteria. The data were analyzed by using t-test dependent and one-way analysis of variance with repeated measure, whereas the content analysis was used through student’s reading log and teachers’ reflection on their instructions. The findings of the study were as follows: 1. The objectives of the developed instructional model were to enhance analytical reading ability. This model consisted of 4 principles; 1) learning strategy from apprenticeship 2) learning the reading to relations background knowledge among words, phrase and text 3) identifying and expanding reading knowledge 4) participating in the assessment of reading by sharing of knowledge. The three main teaching steps of instructional model were; 1) learning and practice reading from the models 2) reading and linking meaning 3) assessing sharing reading experiences. Quantitative and qualitative data measurement and evaluation were carried out during and after the instructional process. 2. The effectiveness of the instructional model after implementation were found; The average score of analytical reading ability higher than before the experiment at .05 level of significance and the average score of analytical reading in analysis writing styles and reasonable criticism components higher than before the experiment at .05 level of significance. The interpretation components higher than before the experiment but is not significance at .05 level. The average score of analytical reading ability in experiment 4 times higher at .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54889 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1242 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1242 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584242227.pdf | 8.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.