Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54945
Title: อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การต่อเจตนาในการประหยัดพลังงานในสถานที่ทำงาน : การศึกษาตัวแปรส่งผ่านของความกระปรี้กระเปร่าในงาน และความกตัญญู
Other Titles: EFFECTS OF PERCEIVED ORGANIZATIONAL SUPPORT ON INTENTION TO CONSERVEENERGY AT WORK: THE MEDIATING ROLES OF VIGOR AND GRATITUDE
Authors: กวิตา พร้อมเพราะ
Advisors: วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับเจตนาในการประหยัดพลังงานในสถานที่ทำงาน โดยมีตัวแปรความกระปรี้กระเปร่าในงาน และความกตัญญูเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไปที่เป็นพนักงานประจำจำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ มาตรวัดความกระปรี้กระเปร่าในงาน มาตรวัดความกตัญญูต่อองค์การ และข้อคำถามวัดเจตนาในการประหยัดพลังงานในสถานที่ทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อเจตนาในการประหยัดพลังงานในสถานที่ทำงาน แต่มีอิทธิพลทางอ้อมในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อเจตนาในการประหยัดพลังงานในสถานที่ทำงานผ่านความรู้สึกกตัญญูต่อองค์การที่เพิ่มขึ้น โดยที่ตัวแปรความรู้สึกกตัญญูมีบทบาทเป็นตัวแปรส่งผ่านที่สมบูรณ์ แต่ไม่พบอิทธิพลส่งผ่านไปที่ตัวแปรความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าในงาน
Other Abstract: The purpose of this research was to examine the relationship between perceived organizational support and intentions to conserve energy at work (focusing on saving electricity and water), and the mediating effects of vigor and gratitude as positive emotions at work. Participants were 249 Thai employees of private organizations in Bangkok who completed a perceived organizational support scale, a vigor scale, a gratitude toward organization scale. And a measure of intentions to conserve energy at work. Results from a Structural Equation Modeling (SEM) analysis using LISREL indicate that the hypothesized model yields an acceptable fit. Perceived organizational support has no direct effect on intentions to conserve energy at work, but it has an indirect effect via greater positive gratitude toward organization (full mediation). Vigor, however, has no mediating effect on the relationship between perceived organizational support and intentions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54945
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.297
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.297
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677603138.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.