Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54986
Title: | การรวมระบบเงินทดแทนกับระบบประกันสังคมเพื่อความเสมอภาคในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน |
Other Titles: | Unification of Workmen's Compensation System and Social Security System for Worker’s Equality in Access to Benefits |
Authors: | ชญานี ปวีรวัฒน์ |
Advisors: | ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การประกันสังคมเป็นสวัสดิการที่รัฐจำเป็นต้องใช้ เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคมให้แก่ผู้ใช้แรงงาน และตามมาตรฐานสากลนั้น การประกันสังคมที่ดี หมายถึง การประกันสังคมที่คุ้มครองทุกคนอย่างเสมอภาค และสามารถจัดสรรให้มีหลักประกันที่เพียงพอแก่ความต้องการของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งแม้ว่าแต่ละประเทศจะมีแนวทางการจัดทำระบบการประกันสังคมที่แตกต่างกัน แต่เมื่อมองจากภาพรวมทั่วโลกแล้ว จะเห็นได้ว่ากระแสโลกในปัจจุบันมีแนวทางขยายความคุ้มครองการประกันสังคมให้ครอบคลุมทั่วถึงมากขึ้นและคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น การประกันสังคมเริ่มใช้ในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เมื่อจัดตั้งระบบเงินทดแทน อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มจัดตั้งระบบการประกันสังคมประเภทอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ระบบเงินทดแทนกลับถูกแยกเป็นเอกเทศออกจากระบบประกันสังคม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างสองระบบดังกล่าว อันส่งผลให้เกิดภาระที่ไม่จำเป็นแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ช่องว่างทางกฎหมายซึ่งเพิ่มโอกาสในการกระทำผิดทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา รวมถึงการให้ความคุ้มครองที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างไม่เป็นธรรม ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยความท้าทายที่สมควรได้รับความสนใจจากรัฐบาล หากประเทศไทยสามารถพัฒนาระบบการประกันสังคมให้มีเอกภาพยิ่งขึ้น ด้วยการรวมระบบเงินทดแทนและระบบประกันสังคมประเภทอื่น ๆ ผู้ใช้แรงงานย่อมสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้อย่างเสมอภาคและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลต่าง ๆ เช่น แผนปฏิบัติการของสหประชาชาติ ปี ค.ศ. 2030 ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผนปฏิบัติการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยงานที่มีคุณค่า และยุทธศาสตร์การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสมาคมการประกันสังคมระหว่างประเทศว่าด้วยการประกันสังคมที่มีความเป็นพลวัต เป็นต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในฐานะประเทศชั้นนำของประชาคมอาเซียน อันเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อรับมือการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | Social security is a necessary part of state welfare systems in creating social justice for workers; furthermore, good practices on social security according to international standards are to provide protections to all workers equally and to provide effective protections against social risks. Furthermore, while each state had its own interpretation of the good practices, from worldwide perspective there are trends of extending social security for more inclusive coverage and equal protection. Thailand had founded social security since 1974; however, since the founding of other social security benefits in 1999 henceforth, the workmen’s compensation system has continued existing independently from other social security systems in all aspects resulting in unnecessary burdens for all stakeholders, creating gaps in the law which increase the chance of wrongdoings whether intended or unintended and also providing unequal protection unjustifiably, such that it is a challenge deserving the government’s attention. If Thailand is capable of unification of workmen’s compensation system and social security system, workers would enjoy equal and effective benefits in accordance with international standards: the United Nations 2030 Agenda for Sustainable Development, the International Labour Organization Decent Work Agenda, the International Social Security Association Strategic Vision on Dynamic Social Security, etc. This would coincide with the government’s measure on promoting Thailand as a leading nation of ASEAN community that is considered a crucial maneuver to manage competitions on international stages hereafter. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54986 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.471 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.471 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5685963334.pdf | 3.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.