Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54996
Title: กฎหมายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 : ศึกษาข้อกำหนดมาตรฐานของสัญญาร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาที่ดินของรัฐ
Other Titles: PRIVATE INVESTMENTS IN STATE UNDERTAKINGS ACT B.E.2556: STUDY ON REQUIREMENTS OF PPPS STANDARD CONTRACTS IN RELATION TO PUBLIC LAND DEVELOPMENT PROJECTS
Authors: อัญชนา ธนาโอฬาร
Advisors: ชยันติ ไกรกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การร่างสัญญาร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาที่ดินของรัฐนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และรายละเอียดตามที่พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 “พระราชบัญญัติ” และประกาศสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เรื่อง ข้อกำหนดมาตรฐานของสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2558 “ประกาศ” กำหนดไว้ แต่ปัจจุบันประกาศฯยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนจึงก่อให้เกิดปัญหาต่อการร่างสัญญาร่วมลงทุน ผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายและคู่มือแนวทางการร่างสัญญาร่วมลงทุนของประเทศออสเตรเลียและประเทศอังกฤษ โดยได้ข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ 1. การเริ่มนับระยะเวลาโครงการให้ถือวันที่บรรลุข้อตกลงทางการเงินเป็นเงื่อนไขการเริ่มนับระยะเวลา โดยมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขการขอความเห็นชอบจากคู่สัญญาฝ่ายรัฐและกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติตามเงื่อนไข นอกจากนี้ จะต้องมีแนวทางในการต่ออายุตามคำมั่นในกรณีโครงการได้ทำขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติและประกาศนี้ใช้บังคับ โดยการเจรจาต่ออายุสัญญาจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการมาตรา 34 เพื่อทำหน้าที่พิจารณาข้อเสนอและผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐ และเมื่อเจรจาเรียบร้อยแล้วจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนการทำสัญญาใหม่ตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป 2. กรณีเหตุยกเว้นความรับผิดนั้นจะต้องมีหลักเกณฑ์ว่ากรณีอย่างใดเป็นเหตุสุดวิสัย เหตุละเว้นความรับผิดและเหตุเรียกค่าชดเชย และการดำเนินการภายหลังจากการเกิดเหตุยกเว้นความรับผิดไว้ด้วย และคู่สัญญาฝ่ายรัฐสามารถพิจารณาชดเชยความเสียหายด้วยการขยายระยะเวลาโครงการ การปรับลดส่วนแบ่งรายได้หรือค่าตอบแทน รวมถึงการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่คู่สัญญาฝ่ายเอกชนในกรณีของเหตุเรียกค่าชดเชย 3. การประกันภัยจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการจัดทำประกันภัยที่สามารถจัดการความเสี่ยงของโครงการพัฒนาที่ดินของรัฐตลอดอายุสัญญา โดยจะต้องมีเงื่อนไขที่เจ้าหนี้เงินกู้โครงการมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในจำนวนหนี้ที่คู่สัญญาฝ่ายเอกชนค้างชำระ กรณีการใช้ค่าสินไหมทดแทนจะต้องมีหลักเกณฑ์ชัดเจนที่คุ้มค่ากับการลงทุนของคู่สัญญาฝ่ายเอกชน 4. กรณีเหตุแห่งการเลิกสัญญา จะต้องมีหลักเกณฑ์และกำหนดขอบเขตในกรณีการใช้สิทธิเลิกสัญญาฝ่ายเดียวของคู่สัญญาฝ่ายรัฐที่จะต้องมีการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญา และกรณีมีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อการปฏิบัติตามสัญญาของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนให้ต้องรับภาระหนักขึ้นหรือเสียเปรียบเกินควรนั้น จะต้องมีแนวทางที่คู่สัญญาฝ่ายเอกชนมีสิทธิขอปรับแก้สัญญาเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขสัญญาหรือไม่สามารถตกลงกันได้ก็ให้เป็นเหตุแห่งการเลิกสัญญาได้
Other Abstract: The drafting of the PPPs Contract in relation to Public Land Development Projects must contain the standard contract provision and details as prescribed by Private Investment in State Undertaking Act B.E.2556 and Notification of State Enterprise Policy Office Re: Requirements of PPPs Standard Contracts. Nevertheless, the contract drafting treat cause of unclear provision. The researcher has studied and conducted a comparison law and the drafting PPPs Contract guidelines of Australia and UK. This thesis intends to proposed requirement is as follows: 1. Contract term provision should required the Conditions Precedent to Financial close and required the target date for satisfaction of the conditions Precedent. Furthermore, the provision should also required the renewal process of the Contract, which it made before this Act enforceable. The party should comply with the renewal provision in such contract and the Authority should appoint a selection committee under Section 35, to negotiate and consider the Contractor proposal. And the next stage, the renew of the Contract shall be in accordance with this Act. 2. Supervening events provision should required the definition and the consequences of Force Majeure, Relief Event and Compensation Event. And such events which is appropriate for the Authority amending the payment mechanism, extending the term of the Contract or even giving the compensation to the Contractor for Authority Default. 3. Insurance provision should required the Contractor to take out and maintain certain insurance as a means of managing particular risks. The Insurance Proceeds should recover The Senior Lender for an amount equal to the outstanding Debt and how Insurance Proceeding is better value for money for the Contractor. 4. Early Termination provision should required and limited scope of voluntary termination by the Authority which the Contractor should receive a termination payment. And the Contractor can be terminated in the response to the material changing of fundamental circumstances if adaptation of the contract is not possible or cannot reasonably be imposed on both party
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54996
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.454
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.454
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686040234.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.