Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55071
Title: การรับรู้ตราบาปในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมระยะแรกและผู้ดูแล ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Perceived stigma in people with mild dementia and their caregivers at King Chulalongkorn Memorial hospital
Authors: นาถชนิกา อาทะวิมล
Advisors: สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุผลการทำวิจัย : โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งการที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอาจก่อให้เกิดตราบาป ในผู้ป่วยและผู้ดูแล วัตถุประสงค์ของการวิจัย : ศึกษาการรับรู้ตราบาปและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ตราบาปที่เกิดขึ้นในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมระยะแรกและผู้ดูแลที่เข้ามารับการรักษา ณ คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รูปแบบการวิจัย : รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 97 คนได้แก่ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมระยะแรกที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์หรือประสาทแพทย์ว่าเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดAD VAD AD with CVD MCI และ mixed dementiaที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีผู้ดูแลซึ่งอยู่ดูแลไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันและดูแลมานานไม่น้อยกว่า 1 เดือน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล, แบบวัด stigma impact scale (SIS) แบบวัดความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล (Zarit Burden Interview Thai vertion) แบบประเมิน NPI-Q แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ โดยวิเคราะห์ทางสถิติของค่าการรับรู้ตราบาปเป็นค่าเฉลี่ย ค่าสัดส่วน และร้อยละและหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยการทดสอบด้วย t-test และOne-way ANOVA แล้วทำการวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยทำนายด้วยวิธี linear regression analysis ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยและผู้ดูแลส่วนใหญ่มีการรับรู้ตราบาปในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 92.8 และ 89.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความ เกี่ยวข้องกับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประวัติการมีโรคสมองเสื่อมในครอบครัว คะแนนจากแบบวัด NPI-Q ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ดูแล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล และความเพียงพอของรายได้ และปัจจัยที่สามารถทำนายการรับรู้ตราบาปในผู้ป่วยได้แก่อายุและประวัติการมีโรคสมองเสื่อมในครอบครัว และปัจจัยทำนายของผู้ดูแลได้แก่ความความรู้สึกเป็นภาระในระดับสูง สรุปผลการศึกษา : การรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระยะแรกและผู้ดูแลส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ โดยเกี่ยวข้องกับอายุการมีประวัติครอบครัว อายุ และความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล
Other Abstract: Background : Dementia is a common disease in the elderly. Lacking knowledge and understanding may cause the perceived stigma Of dementia among patients and caregivers. Objectives : To explore the perceived stigma in the people with early stages of dementia and their caregivers at the out-patient clinic of King Chulalongkorn Memorial hospital. Design : A cross-sectional descriptive study. Materials and Methods : A total of 97 individuals, including people with early stage of dementia and caregivers , were recruited . All subjects with at least 60 years old were diagnosed by psychiatrists or neurologists with AD , VAD, AD with CVD, MCI and mixed dementia .The caregivers had to take care of the patients not less than three hours per day for at least one month. The tools used to collect data composed of the questionnaire about demographic and clinical data of the patients and caregivers , stigma impact scale (SIS), Zarit Burden Interview Thai version Questionnaire, Neuropsychiatric Inventory Questionnaire (NPI-Q thai version ), Assessment of knowledge about Alzheimer's disease questionnaire . Statistical analysis was performed for percentage, mean, and standard deviation of the SIS and univariated analysis was done for associated factors with t-test, One-way ANOVA. Linear regression analysis was computed for the predictive factors of SIS Results : Most of the patients and caregivers had low SIS score, 92.8 and 89.7 percent respectively. Factors associated with the perceived stigma among patients were the patients’ age, educational level , family history of dementia.,NPI-Q scores and the level of caregiver’s burden . Factors associated with the perceived stigma among the caregivers were age ,educational level and inadequate income. The predictive factors for the perceived stigma among patients and caregivers were age and family history of dementia. Only high level of caregiver’s burden could predict the SIS score of the caregivers in this study. Conclusion : The results of this study showed that the level of perceived stigma of dementia among patients and caregivers were low. Age,the family history of dementia and high level of caregiver’s burden were the predictive factors of high SIS score.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55071
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1203
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1203
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774126730.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.