Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5524
Title: | ผลของการให้ข้อมูลร่วมกับการประคบด้วยความเย็นต่อความปวดหลังผ่าตัดของผู้ป่วยกระดูกขาหัก |
Other Titles: | The effect of patient education and cryotherapy on post operative pain of patients with lower limb fractures |
Authors: | ลักขณา มรกต |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | กระดูก -- ศัลยกรรม ความเจ็บปวด ขา |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับ การประคบด้วยความเย็นต่อความปวดหลังผ่าตัดของผู้ป่วยกระดูกขาหัก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยอุบัติเหตุ กระดูกขาหักที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดจัดและยึดตรึงกระดูก ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิคส์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า จำนวน 40 ราย จับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีความคล้ายคลึงในเรื่องเพศ อายุ ตำแหน่งการบาดเจ็บของกระดูกขาหัก ชนิดของยาระงับความรู้สึกขณะผ่าตัดและประสบการณ์ได้รับ การผ่าตัด จนได้กลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่ม ทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการประคบด้วยความเย็นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดทฤษฎี ควบคุมประตู (Gate control theory) ของ Melzack and Wall (1965) การให้ความรู้ในผู้ป่วยออร์โธปิดิคส์ของ Roach, Tremblay, and Bowers (1995) ความต้องการข้อมูลในผู้ป่วยออร์โธปิดิคส์ ของ Edwards (2003) และความต้องการข้อมูลของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดของขนิษฐา นาคะ (2534) ร่วมกับนวตกรรมทางการพยาบาล การประดิษฐ์ถุงผ้า D-pack ซึ่งพัฒนามาจากดวงใจ บุญนันท์ (2545) ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบประเมินความปวด ชนิดมาตรวัดความปวดแบบเปรียบเทียบด้วยสายตา (Visual Analog Scale) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Kolmogorov-Smirnov test และสถิติทดสอบที (Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้ป่วยกระดูกขาหักกลุ่มี่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับ การประคบด้วยความเย็นมีระดับความรุนแรงของความปวดหลังผ่าตัดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of giving information and cryotherapy on post operative pain in patients with lower limb fractures. The sample consisted of 40 lower limb fractures patients receiving an open reduction internal fixation surgery admitted to the orthopaedic-surgical wards at Somdet Phra Pin Klao Hospital. A matched-pair technique was used to assign patients to experimental and control groups. Each group consisted of 20 patients. The two groups were similar in sex, age, operation site, anesthesia, and surgical experience. The experimental group received a giving information and cryotherapy program based on Melzack and Wall (1965)'s Gate control theory, Roach, Tremblay, and Bowers (1995)'s education program, Edwards (2003)'s orthopaedic patient's 'need to know', and Kanista (1991)'s information needs. Pain was assessed by using a visual analog scale (VAS). The program was tested for the content validity by 7 experts. Statistical techniques used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Kolmogorov-Smirnov test statistic, and Independent t-test. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5524 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.856 |
ISBN: | 9741734948 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.856 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Luckhana.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.