Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55298
Title: | คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ และวัจนปฏิบัติของรูปปฏิเสธ ไม่ และ เปล่า ในภาษาไทย |
Other Titles: | SYNTACTIC, SEMANTIC AND PRAGMATIC PROPERTIES OF NEGATIVE FORMS /mâj/ AND /plàaw/ IN THAI |
Authors: | รุจิรา บำรุงกาญจน์ |
Advisors: | กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ และวัจนปฏิบัติของรูปปฏิเสธ ไม่ และ เปล่า ในภาษาไทย โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นวนิยาย สื่อทางอินเทอร์เน็ต และบทสนทนาในชีวิตประวันของผู้วิจัย แต่จะไม่นำรูปปฏิเสธ ไม่ และ เปล่า ที่ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของคำลงท้ายคำถาม เช่น หรือไม่ และ หรือเปล่า; และที่ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของวลีตายตัว เช่น ไม่เป็นไร และ หรือก็เปล่า มาศึกษาร่วมด้วย ผลการวิจัยพบว่า รูปปฏิเสธ ไม่ สามารถปรากฏในบริบททางวากยสัมพันธ์ที่หลากหลายกว่ารูปปฏิเสธ เปล่า กล่าวคือ ไม่ สามารถปรากฏได้ใน 5 กระสวน คือ 1) ปรากฏลำพังหรือมีคำลงท้าย 2) ปรากฏหน้ากริยาวลี 3) ปรากฏร่วมกับคำกริยาช่วย 4) ปรากฏหน้าวิเศษณ์วลี และ 5) ปรากฏภายในหน่วยสร้างกริยาเรียง ส่วนรูปปฏิเสธ เปล่า ปรากฏใน 2 กระสวน คือ 1) ปรากฏลำพังหรือมีคำลงท้าย และ 2) ปรากฏหน้ากริยาวลี โดย ไม่ และ เปล่า ในกระสวนแรกใช้ปฏิเสธถ้อยคำของผู้ร่วมสนทนาในผลัดก่อนหน้า ส่วน ไม่ และ เปล่า ในกระสวนอื่นใช้ปฏิเสธคำหรือวลีที่ตามมาในประโยค นอกจากนี้ยังพบว่า เปล่า มีข้อจำกัดในการปรากฏร่วมกับคำกริยา กล่าวคือ แม้ เปล่า จะสามารถปรากฏหน้าคำกริยาแสดงอาการ คำกริยาแสดงสภาพ และคำสัมพันธกริยา เป็น ได้เช่นเดียวกับ ไม่ แต่ เปล่า ไม่สามารถปรากฏหน้าคำกริยาคุณศัพท์ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของคำกริยาแสดงสภาพได้ เมื่อเปรียบเทียบความหมายในทางอรรถศาสตร์พบว่า ไม่ มีความหมายแสดงการปฏิเสธ สามารถใช้ปฏิเสธได้ทั้งคำถามหรือข้อสงสัย การบอกเล่า คำสั่ง คำขอร้อง และคำชวน ในขณะที่ เปล่า มีความหมายแสดงการปฏิเสธเพื่อหักล้างความคิด ความเชื่อ หรือมูลบทของผู้ร่วมสนทนาที่แฝงอยู่ในคำถามและการบอกเล่า ส่วนในทางวัจนปฏิบัตินั้น พบว่า ไม่ สามารถทำหน้าที่ได้หลากหลายกว่ารูปปฏิเสธ เปล่า กล่าวคือ ไม่ มีหน้าที่เด่นในทางวัจนปฏิบัติ 4 หน้าที่ ได้แก่ การปิดบังความจริง การชิงผลัด การตัดบท และการห้าม มีหน้าที่รอง 3 หน้าที่ ได้แก่ การแก้ไขสิ่งที่กล่าว การยืนยัน การไม่ยอมรับ ในขณะที่ เปล่า มีเพียงหน้าที่เด่นในทางวัจนปฏิบัติ 4 หน้าที่ ได้แก่ การปิดบังความจริง การตัดบท การแก้ตัว และการแสดงว่าสิ่งที่กำลังกล่าวถึงนั้นไม่มีความสำคัญ |
Other Abstract: | This dissertation aims to study the syntactic, semantic, and pragmatic properties of the two negative forms, /mâj / and /plàaw/ in Thai. The data was collected from Thai National Corpus under the Patronage of Her Royal Highness Princess Mahachakri Sirindorn by the Department of Linguistics, the Faculty of Arts, Chulalongkorn University; novels; the Internet media; and daily life conversations of the researcher. However, /mâj / and /plàaw/ which are part of question particles such as /rɨ̌ mâj/ and /rɨ̌ plàaw /; and part of fixed expressions such as /mâj pen raj/ and /rɨ̌ kɔ̂ plàaw/ are not included in this study. It is found that /mâj/ can occur in 5 syntactic patterns as follows: 1) occur solely or with final particle(s) 2) precede verb phrase 3) occur with auxiliary 4) precede adverbial phrase and 5) occur in serial verb construction while /plàaw/ can occur in 2 patterns as follows: 1) occur solely or with final particle and 2) before verb phrase. The two negative forms in the first pattern are used to negate the utterance in the previous turn, but when they are in other patterns, they are used to negate the following word or phrase. The result also shows that although /plàaw/ can be used with verbs that are action verbs, stative verbs, and copula /pen/, it cannot precede adjectival verbs, which are a subset of stative verbs. According to their semantic properties, these two negative forms have different meanings i.e. /mâj/ means ‘no’ and can be used to negate questions or doubts; declaratives; orders; requests; and persuasion while /plàaw/ has more specific meaning as it is used to negate thoughts, beliefs, or presupposition which reside in questions and declarives of other speakers. Moreover, it can be seen that /mâj/ has more pragmatic functions than /plàaw/ does. /mâj/ has 4 marked pragmatic functions which are concealing feelings, interrupting, cutting short while talking, and forbidding; and 3 extra pragmatic functions which are self-repairing, confirming, and repudiating something. And /plàaw/ has only 4 marked pragmatic functions which are concealing feelings, cutting short while talking, making excuses, and expressing that something stated is not important. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55298 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.713 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.713 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480518722.pdf | 5.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.