Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55454
Title: | ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและกระทำอนาจาร : ศึกษากรณีการให้ความยินยอม |
Other Titles: | THE RAPE AND INDECENT ASSAULT OFFENCES : PARTICULAR STUDY IN THE CASE OF CONSENT |
Authors: | ปริณัฐ สมนึก |
Advisors: | ปารีณา ศรีวนิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การข่มขืน การกระทำอนาจาร ความผิดต่อบุคคล Rape Indecent assault Offenses against the person Sexual consent |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 และมาตรา 278 เป็นความผิดที่ต้องกระทำโดยปราศจากความยินยอมของผู้อื่น และการกระทำจะต้องประกอบด้วยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง กล่าวคือ โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยกระทำขณะผู้อื่นอยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น จากการศึกษาพบว่าแม้การหลอกลวงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความยินยอมเสียไปเป็นความยินยอมที่ไม่บริสุทธิ์ และไม่ใช่การหลอกลวงทุกกรณีที่จะเป็นเหตุให้ความยินยอมเสียไป แต่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 และมาตรา 278 กำหนดเพียงการหลอกลวงให้เข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่นเท่านั้นเป็นความผิด มิได้กำหนดถึงการหลอกลวงให้เข้าใจผิดในสภาพของการกระทำ และการหลอกลวงให้เข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ของการกระทำไว้เป็นองค์ประกอบของความผิด ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา 2 ด้าน ได้แก่ ในด้านการพิจารณาความผิดเพื่อให้สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ และในด้านการกำหนดความผิดโดยเพิ่มเติมองค์ประกอบความผิดในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 และ 278 เพื่อให้ครอบคลุมถึงการหลอกลวงที่เป็นเหตุให้ความยินยอมเสียไปทุกกรณี |
Other Abstract: | According to section 276 and 278 of the Criminal Code, the conviction of crime with respect to rape and sexual assault are offense committed without the consent of others and the action must be performed in a certain manner, i.e., doing any act of violence, by taking advantage of that person to be in the condition of inability to resist, or by causing that person to mistake him for the other person This study found that even a fraud vitiate consent is not innocent consent and not all deception will cause an involuntary assumption of risk. However, according to the Criminal Code, Section 276 and Section 278, only deception by causing that person to mistake him for the other person is wrongdoing. It does not stipulate misleading deception of the state of action and misleading deception of the purpose of the act as elements of guilt. Therefore, this thesis proposes about judicial proceeding in order to bring the offender to justice and recommends to revise section 276 and 278 of Criminal Code by adding some term to cover all aspects of fraud vitiate consent. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55454 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.498 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.498 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5685995434.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.