Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5549
Title: | การศึกษาการใช้งานในอาคารคล้ายตึกแถว ของโครงการสุขุมวิทพลาซ่าและโครงการปาร์คอเวนิวโฮมออฟฟิศ 2 |
Other Titles: | A study of the shophouse architecture of Sukhumvit Plaza Project and Park Avenue Home Office 2 Project |
Authors: | ธวัช พันธุ์เจริญลักษณ์ |
Advisors: | สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ วีระ สัจกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | โครงการสุขุมวิทพลาซ่า โครงการปาร์คอเวนิวโฮมออฟฟิศ ตึกแถว -- ไทย -- กรุงเทพฯ ตึกแถว -- แง่สิ่งแวดล้อม การออกแบบสถาปัตยกรรม |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาสภาพแวดล้อมกายภาพของอาคารคล้ายตึกแถว ที่มีผลต่อการใช้งานในโครงการสุขุมวิทพลาซ่า และโครงการปาร์คอเวนิวโฮมออฟฟิศ 2 โดยสำรวจกรณีศึกษา เพื่อบันทึกรวบรวมข้อมูลด้านกายภาพ และการใช้งานทั่วไป ใช้แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิด สอบถามผู้ใช้งานถึงปัจจัยสนับสนุนในการเลือกโครงการ และสอบถามถึงประเด็นปัญหา และข้อดีจากการใช้งาน รวมถึงทัศนคติของผู้ใช้งานต่อสภาพแวดล้อมของโครงการทั้งสอง จากการศึกษาประวัติของตึกแถวในอดีต ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ยุคคือ ยุคเก่า ยุคเปลี่ยนแปลง และยุคสมัยใหม่นั้น พบว่า อาคารคล้ายตึกแถวเป็นอาคารรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในยุคตึกแถวสมัยใหม่ ทั้งนี้ตึกแถวโดยทั่วไปมีลักษณะการวางผังขนานไปตามถนน มีการใช้งานปนกันระหว่างพาณิชยกรรม กับการพักอาศัย และส่งผลกระทบในด้านลบต่อความเป็นเมือง เช่น ปัญหาด้านมลภาวะ ปัญหาทัศนะอุจาด และการใช้งานที่มักจะรุกล้ำที่สาธารณะ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมกายภาพของโครงการกรณีศึกษา เปรียบเทียบกับตึกแถวทั่วไป พบว่าส่วนที่แตกต่างกันคือ โครงการที่เป็นกรณีศึกษาทั้งสอง ได้ใช้ขนาดพื้นที่ผืนใหญ่กว่าตึกแถวโดยทั่วไป มีการออกแบบวางผังอาคารในลักษณะที่ตั้งฉากกับทางสาธารณะ มีระบบทางสัญจรภายในทั้งทางรถ และทางเดินเท้าเพิ่มขึ้นพร้อมทั้งมีที่จอดรถ และส่วนบริการกลางภายในโครงการ สำหรับตัวคูหานั้นมีผังอาคาร และขนาดพื้นที่คล้ายคลึงกับตึกแถวแบบเดิม แต่คูหาอาคารของกรณีศึกษามีจำนวนชั้นสูงกว่าตึกแถวทั่วไปโดยเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบกายภาพที่มีผลต่อการเพิ่มความหนาแน่น และความสะดวกในการใช้งานที่สำคัญมี 3 ประการคือ 1) ระบบทางสัญจรภายใน 2) ที่จอดรถในโครงการ 3) พื้นที่เปิดโล่ง ข้อดีของโครงการกรณีศึกษาคือ ความสะดวกในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ภายในคูหา ความยืดหยุ่นในการแบ่งพื้นที่แยกชั้นให้เช่าได้ มีที่จอดรถให้บริการ รวมไปถึงการใช้ที่ดินผืนใหญ่ถอยห่างจากถนน สร้างความรู้สึกปลอดโปร่ง และความสะดวกในการเดินทางเข้าออกโครงการแก่ผู้ใช้งาน สำหรับข้อเสียนั้นพบว่ายังคงมีปัญหาการต่อเติมอาคารเช่นเดิม ความเสียเปรียบของคูหาที่อยู่ด้านในของโครงการ ความยุ่งยากในการออกแบบให้องค์ประกอบต่างๆ ของโครงการมีความสมบูรณ์เท่าเทียมกัน และผู้ประกอบการบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือในการชำระค่าดูแลพื้นที่ส่วนกลาง ในขณะที่ฝ่ายดูแลอาคารต้องมีภาระในการดูแลซ่อมแซมโครงการอยู่ตลอดเวลา จากการศึกษาสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะต่อโครงการสุขุมวิทพลาซ่าได้ว่า ควรปรับปรุงส่วนเปิดโล่งเพื่อให้สามารถใช้พักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในระยะยาวจะสามารถลดค่าซ่อมบำรุงพื้นที่ส่วนกลางของโครงการลงได้ด้วย สำหรับในโครงการ ปาร์คอเวนิวโฮมออฟฟิศ 2 นั้น ควรปรับปรุงระบบทางสัญจรทางเท้า และปรับปรุงพื้นที่ว่างด้านหลังของโครงการ ให้เป็นร้านค้า เป็นสวนพักผ่อน และที่จอดรถเพิ่มเติม ทั้งนี้สำหรับการออกแบบวางผังอาคารคล้ายตึกแถวในอนาคตนั้น ควรคำนึงถึงการวางระบบทางสัญจรทางเท้าที่ต้องครอบคลุมคูหาให้งานได้ดีทั้งโครงการ มีจำนวนที่จอดรถเพียงพอ ควรให้ความสำคัญต่อพื้นที่ชั้นล่างของอาคาร และควรใช้ผืนที่ดินขนาดใหญ่ในการจัดทำโครงการ |
Other Abstract: | Studsies the physical environment of the shophouse architecture which influences the usage of Sukhumvit Plaza and Park Avenue Home Office 2. The study consists of a survey to gather physical data and general use and open-ended questionnaires to discover supportable reason for selecting the projects, problems and advantages, as well as user's attitudes towards the components of the environment of the project studied. The evolution of shophouses is divided into 3 stages: the early stage, the transitional stage and the modern stage. Shophouse architecture in these projects belongs to the modern stage. In addition, general shophouses are developed as Linear Growth. They are bi-functional and negatively affect urban areas through pollution, visual pollution and the invasion of public space. Physical environment analysis of the projets studied compared to other shophouses found that the former take up more space than ordinary shophouses. The buildings are located perpendicular to the public road, providing more internal circulation, both of cars and people as well as more parking space and a central service area. Each unit on the projects studied is similar to an ordinary shophouse planning and dimensions, but the buildings here comprise more stories than the average shophouse. This study shows that physical components increase intensity and convenience. They are: 1) Internal circulation system 2) Central public parking 3) Open space Advantages of the developments studied are convenience in adjusting space in each unit, flexibility in dividing each floor space for rental, availability of parking space, convenience of access to the premises and more opened space. Disadvantages are illegal building modifications, lack of opportunity for the inner unit and complications in designing the rest components up to perfection. Some users are uncooperative in paying subscription charge. Both developments have to receive maintenance regularly. Proposals for Sukhumvit Plaza emphasize developing open spaces and the recreation area and decreasing maintenance tasks. Proposals for Park Avenue Home Office 2 emphasize renovation of footpath circulation and developing unallocated space in the back for a parking area, shops and a park for recreation. Proposals for designing shophouse architecture include the following: in the future, plans for footpath circulation systems should give good access to every unit within the premises, adequate parking space should be provided, the ground floor should be treated properly and large pieces of land should be used to develop projects. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5549 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.123 |
ISBN: | 9743466878 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.123 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TawatPun.pdf | 15.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.