Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55513
Title: | การกำหนดนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไปเคมีภัณฑ์ |
Other Titles: | DETERMINING INVENTORY MANAGEMENT POLICY IN CHEMICAL PRODUCTS TRADING BUSINESS |
Authors: | อิศณัย ฟุ้งเกียรติไพบูลย์ |
Advisors: | ปวีณา เชาวลิตวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สถานการณ์ของธุรกิจในปัจจุบัน ต้องทำการแข่งขันกันเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่รวดเร็ว ให้ทันตาม ความเปลี่ยนแปลง และอยู่บนพื้นฐานของต้นทุนต่ำแต่กำไรสูง ดังนั้น ทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ การเลือกเก็บสินค้าในปริมาณที่เพียงพอเพื่อรองรับกับความต้องการที่มีความไม่แน่นอนสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและกำหนดนโยบายการบริหารสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไปของสินค้าเคมีภัณฑ์ในบริษัทกรณีศึกษาแห่งหนึ่ง โดยนำเสนอการใช้วิธีพยากรณ์ความต้องการสินค้าร่วมกับการหาวิธีการสั่งซื้อ ภายใต้ความต้องการของลูกค้าและระยะเวลานำแบบไม่คงที่ วิธีพยากรณ์ความต้องการสินค้าที่ใช้คือวิธีหาค่าเฉลี่ยตามระยะเวลาที่เหมาะสมร่วมกับวิธีวิเคราะห์ลูกค้าแบบพาเรโต ผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปใช้กำหนดนโยบายบริหารสินค้าคงคลัง โดยงานวิจัยจะใช้ระบบบริหารสินค้าคงคลังแบบรอบการสั่งคงที่ สำหรับนโยบายการสั่งจะใช้วิธีสั่งซื้อแบบเต็มตู้ และสั่งซื้อแบบร่วม และแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบแรก สินค้าที่สั่งจะถูกส่งพร้อมกันทั้งหมด และรูปแบบที่สอง สินค้าที่สั่งจะแบ่งส่ง ผลลัพธ์ที่ได้จะนำเสนอในมิติด้านปริมาณสินค้าคงเหลือสิ้นงวด มิติด้านระดับการบริการ และมิติด้านต้นทุน ผลการทดสอบกับข้อมูลจริงของปี พ.ศ.2559 พบว่า เมื่อใช้วิธีการพยากรณ์ความต้องการสินค้าด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยตามระยะเวลาที่เหมาะสม ร่วมกับวิธีวิเคราะห์ลูกค้าแบบพาเรโต ทำให้ค่าการพยากรณ์มีความแม่นยำเฉลี่ย 89% เพิ่มขึ้นจากเดิม 27% ซึ่งเมื่อนำผลลัพธ์ที่ได้จากการพยากรณ์ไปใช้ร่วมกับการหานโยบายการสั่งซื้อและจัดเก็บ พบว่า ทำให้ต้นทุนการสั่งซื้อลดลง 21% ต้นทุนการเก็บลดลง 46% และทำให้ต้นทุนรวมลดลง 37% หรือประมาณ 4.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับนโยบายปัจจุบัน และทำให้อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังในหน่วยวันลดลงเฉลี่ย 34% ในขณะที่ยังคงสามารถตอบสนองต่อลูกค้าที่ระดับการให้บริการ 99% |
Other Abstract: | In today’s world business, flexibility and agility are important to the rapid changes of consumers’ needs. The entrepreneurs have to improve themselves to catch up those needs on the basis of low costs but high profits. Consequently, adequate inventory to meet uncertain demand would be prior especially in trading business. The objective of this study is to determine inventory management policy in chemical products trading business by using demand forecasting method along with determining an appropriate ordering policy under uncertain demand and lead time. By applying Fixed Order Period System to set ordering policy as Full Container Order Quantity and Joint Order Quantity. In addition, this policy also test with 2 ordering scenarios; consolidate shipment and partial shipment. The results will be shown by terms of ending inventory quantity, customer service level and total inventory cost. The study in chemical products trading business is illustrated empirically using a real case in year 2016. The result shows that the proposed forecasting method along with Pareto analysis gives an average of 89% accuracy which is about 27% improvement. Besides the development ordering policy can reduce ordering cost 21%, holding cost 46% and average inventory cost by 37% or 4.9 million baht and still keep service level 99%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55513 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.139 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.139 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5887237020.pdf | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.