Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55542
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์กับกลวิธีสืบค้นบนโปรแกรมค้นหากูเกิล: การศึกษากึ่งทดลองในกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรี
Other Titles: Relationship between Transition of Emotional State and Search Tactics on Google Search Engine: A Quasi-Experimental Study of Undergraduate Students
Authors: ธนพร อธิกิจ
Advisors: ทรงพันธ์ เจิมประยงค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์กับกลวิธีสืบค้นบนโปรแกรมค้นหากูเกิล โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 38 คน ด้วยวิธีการศึกษาแบบกึ่งการทดลอง ซึ่งประกอบไปด้วยงานสืบค้น 3 ประเภท การวิเคราะห์ข้อมูลศึกษาตัวแปรอิสระอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประเภทของงานสืบค้น ความคิดเห็นเกี่ยวกับงาน ความสำเร็จในการสืบค้น จำนวนครั้งและระยะเวลาที่ใช้ในการสืบค้น ความเชื่อมั่นในความสามารถทางอินเทอร์เน็ต การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์ และกลวิธีสืบค้น ผลการวิจัย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์สัมพันธ์กับกลวิธีประเมินและกลวิธีสืบค้นตามโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ผู้สืบค้นมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์ในขั้นปฐมภูมิเมื่อเลือกใช้กลวิธีประเมิน ในขณะที่เมื่อผู้สืบค้นใช้กลวิธีสืบค้นตามโครงสร้างของแฟ้มของมูลมีแนวโน้มที่จะไม่เปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์มากกว่าเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์ สำหรับผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุระดับแบบโลจิสติก พบว่า สภาวะอารมณ์มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง เมื่อผู้สืบค้นใช้กลวิธีการประเมิน แต่สภาวะอารมณ์ขั้นปฐมภูมิของผู้เข้าร่วมวิจัยมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อผู้สืบค้น 1) ใช้กลวิธีสืบค้นตามโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล 2) ประสบความสำเร็จในการสืบค้น และ 3) พิจารณาว่างานสืบค้นยาก เมื่อพิจารณาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์ในขั้นปฐมภูมิร่วมกับตัวแปรอิสระอื่น ๆ ต่อการเลือกใช้กลวิธีสืบค้น พบว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์มีผลต่อการเลือกใช้กลวิธี 3 ประเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 1) กลวิธีกำหนดลักษณะของผลลัพธ์ 2) กลวิธีเลือกและปรับปรุงคำค้น และ 3) กลวิธีตรวจสอบติดตาม ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย คือ ได้แนวทางในการพัฒนาระบบสืบค้นที่เพิ่มความสามารถในการใช้ได้และความพึงพอใจของผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีและผู้ใช้ทั่วไป
Other Abstract: This research study aims to explore the relationship between transition of emotional states and search tactics while using Google search engine. Thirty-eight undergraduate students participated in a quasi-experimental study consisting of 3 types of search tasks. The analysis involved various independent variables including search task types, task evaluations, search frequency and time, search success and internet self-efficacy. The results indicate that the transition of emotional states is associated with the use of evaluation and file structure tactics. When evaluation tactics are applied, it is more likely that the emotional states in a primary level are changed. On the other hand, when searchers apply file structure tactics, the emotional states are more likely to unchanged. The results from hierarchical logistic regression for multilevel analysis indicates that the emotional states tend to change when evaluation tactics are applied, but tend to unchanged when: 1) file structure tactics are used, 2) search task is success and 3) task is considerably easy. Considering the impact of the transition of emotional states, among other independent variables, on the application of search tactics, the transition of emotional states significantly has an impact on the use of search formation, term tactics and monitoring tactics. The study results shed some lights on ways to improve search systems to increase usability and satisfaction among undergraduate students and general users.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55542
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.502
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.502
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5780128922.pdf9.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.