Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55734
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสภิตสุดา ทองโสภิต-
dc.contributor.authorปีติภัทร ถิระเกียรติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:48:10Z-
dc.date.available2017-10-30T04:48:10Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55734-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้เข้ามามีบทบาทในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมากขึ้น ด้วยแรงขับเคลื่อนจากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ ประกอบกับแนวโน้มราคาแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากนี้ ด้วยราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่องของระบบกักเก็บพลังงาน (energy storage) ทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เองในบ้านร่วมกับการกักเก็บพลังงาน (PV-storage hybrid) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า แต่เนื่องจากต้นทุนโดยรวมของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานยังมีค่อนข้างสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากระบบ PV-storage hybrid นี้ยังไม่สามารถแข่งขันได้กับค่าไฟฟ้าขายปลีก ในขณะเดียวกัน ระบบ PV-storage hybrid สามารถช่วยเพิ่มความเชื่อถือได้ (reliability) ของไฟฟ้าสำหรับการใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้าและยังช่วยลดความต้องการการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของผู้ใช้ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าโดยรวมอีกด้วย งานวิจัยนี้จึงศึกษาวิเคราะห์ทางเลือกหนึ่งของภาครัฐในการส่งเสริมระบบ PV-storage hybrid คือการจัดทำโครงสร้างค่าไฟตามช่วงเวลาแบบพิเศษ ที่จะช่วยจูงใจในการลงทุนระบบ PV-storage hybrid โดยการเปรียบเทียบความคุ้มทุน และผลตอบแทนทางการเงินของโครงสร้างค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาปกติในปัจจุบัน (Current TOU rate) โครงสร้างค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาแบบพิเศษ (Special TOU rate) และ โครงสร้างค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาแบบพิเศษแบบเพิ่มราคาค่าไฟช่วง on-peak (Extra Special TOU rate) ซึ่งผู้วิจัยออกแบบเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะกับการส่งเสริม PV-storage hybrid ซึ่งโครงสร้างค่าไฟฟ้าแบบพิเศษนี้มีฐานการออกแบบจากโครงสร้างค่าไฟฟ้าในต่างประเทศ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ On-peak 11.00 - 14.00 Regular 7.00 - 11.00, 14.00 - 22.00 และ Off-peak 22.00 - 7.00 โดยนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของระบบ PV-storage hybrid ที่ใช้ในกิจการขนาดเล็ก ที่กำลังการผลิต 3 กิโลวัตต์ และ 5 กิโลวัตต์ เปรียบเทียบกรณีไม่มีระบบ PV และ ระบบที่มี PV เพียงอย่างเดียว ผลการศึกษาพบว่า การติดตั้งระบบ PV-storage hybrid ของโครงสร้างค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาแบบพิเศษแบบเพิ่มราคาค่าไฟช่วง on-peak (Extra Special TOU rate) ขนาดกำลังผลิต 5 กิโลวัตต์ มีความคุ้มค่ามากที่สุด ทำให้ค่าใช้จ่ายไฟฟ้าช่วงเวลา 25 ปี ประหยัด 4,091,416.00 บาท โดยเปรียบเทียบจากกรณีไม่มีระบบ PV และเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาปกติในปัจจุบัน (Current TOU rate) จะมีผลประหยัดเพิ่มขึ้น 945,812.40 บาท หรือคิดเป็น 59.88 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาคืนทุนลดลงจากเดิม 10.4 ปี และมีอัตราผลตอบแทนภายในเพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การออกแบบโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมจะช่วยให้การใช้ระบบ PV-storage hybrid เกิดประโยชน์สูงสุดได้-
dc.description.abstractalternativeCurrently, electricity from solar PV systems is playing a greater role in Thailand's electricity generation, a trend driven by the government’s support measures and the continuous decline in the price of solar panels during the past decade. In addition, with the declining price of energy storage systems, electricity generation from solar energy for self-consumption at home combined with energy storage (PV-storage hybrid) is becoming an attractive alternative for electricity users. However, the combined investment cost of solar photovoltaic (PV) and storage is still high, rendering a high levelized cost electricity that cannot compete with retail grid electricity prices. At the same time, PV-storage hybrid systems can increase the reliability for electricity users, and it can also reduce the peak demand of individual users and the peak demand of the entire electrical system. This research analyzed one of the policy options for the government to promote PV-storage hybrid systems through the comparison of on the feasibility based on the current TOU rate, the Special TOU rate, and the Extra Special TOU rate, which the researchers designed to support PV-storage hybrid. These special electricity structures were designed based on a review of international electricity tariff structures. The study divided the time of day into three periods, on-peak from 11.00 – 14.00, regular from 7.00 – 11.00, 14.00 – 22.00, and off-peak from 22.00 – 7.00. The structures were used to analyze the financial return of PV-storage hybrid systems in small businesses with production capacity of 3 kW and 5 kW. The analysis was conducted by comparing the base case to the case of the PV system. The results from the study indicated that the installation of PV-storage hybrid system of the Extra Special TOU rate with production capacity of 5 kW is the most feasible, saving 4,091,416.00 baht in 25 years for the annual electricity bill, comparing to the absence of PV-storage hybrid system. Furthermore, when comparing to the Current TOU rate, it saved 945,812.40 baht or 59.88 percent reducing the payback period by 10.4 years from the original, and the internal rate of return increased by 12 percent.Therefore, proper design of electricity structures can help maximize the use of the PV-storage hybrid system.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.29-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการศึกษาโครงสร้างค่าไฟฟ้าสำหรับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีระบบกักเก็บพลังงาน-
dc.title.alternativeA STUDY OF ELECTRICITY TARIFF STRUCTURE FOR SOLAR PV SYSTEMS WITH ENERGY STORAGE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisor[email protected],[email protected]-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.29-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5887172820.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.