Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55953
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐภรณ์ หลาวทอง-
dc.contributor.authorปนัดดา ดีพิจารณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-11-16T11:45:06Z-
dc.date.available2017-11-16T11:45:06Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55953-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการกํากับตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตทางการศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการกํากับตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตทางการศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิตนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตทางการศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 364 คน โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝงที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อการกํากับตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ 6 ตัวแปรคือ การรับรู้ความสามารถของตนเองผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเดิม บุคคลที่เป็นแม่แบบการเห็นคุณค่าของการทำวิทยานิพนธ์ ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม วัดตัวแปรแฝงได้จากตัวแปรสังเกตได้ 16 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของการกํากับตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตทางการศึกษา โดยภาพรวมประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการกํากับตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ได้แก่ บุคคลที่เป็นแม่แบบมีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ .78 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเห็นคุณค่าของการทำวิทยานิพนธ์มีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ .65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการสนับสนุนทางสังคมมีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ .36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ 2. โมเดลเชิงสาเหตุของการกํากับตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตทางการศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค- สแควร์ (Chi-square)เท่ากับ 13.62 p = .99 ที่องศาอิสระเท่ากับ 28 ค่า GFI เท่ากับ 1.00 ค่า AGFI เท่ากับ 0.98 และค่า RMR เท่ากับ 0.012 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการกํากับตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ได้ ร้อยละ 61en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to develop a causal model of self-regulation in conducting thesis research of master's degree students. 2) to validate the developing causal model with empirical data. The participants of this research were 364 master’s degree students in education. The research variables consisted of six latent variables: need for academic self-efficacy, prior achievement, academic modeling, attitude toward thesis conduct, anxiety and social support. The research variables were measured by 16 observed variables. The research tools was questionnaire. The research data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson correlation analysis, and LISREL model analysis. The research findings were as follows: 1) The self – regulation in conducting thesis research causal model of master’s degree students in education which had the direct effects were academic modeling = .78 at the significance level of .05 the statistical, attitude toward thesis conduct =.65 at the significance level of .01 the statistical and social supports = .36 at the significance level of .01 at the statistical respectively. 2) The causal model of self – regulation in conducting thesis research of master’s degree students in education was fitted with empirical data considering Chi-square = 13.62 p = 1.00 df = 28 GFI= 1.00 AGFI = 0.98 and RMR = 0.012. The variables in the model accounted for 61% of variance in the self – regulation in conducting thesis research causal model.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1181-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษาen_US
dc.subjectการควบคุมตนเองen_US
dc.subjectDissertations, Academicen_US
dc.subjectEducation, Higheren_US
dc.subjectSelf-controlen_US
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการกำกับตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตทางการศึกษาen_US
dc.title.alternativeA development of a causal model of self-regulation in conducting thesis research of master's degree students in educationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1181-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panadda_de_front.pdf941.99 kBAdobe PDFView/Open
panadda_de_ch1.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
panadda_de_ch2.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
panadda_de_ch3.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
panadda_de_ch4.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
panadda_de_ch5.pdf963.17 kBAdobe PDFView/Open
panadda_de_back.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.